การป้องกันเชื้อไวรัสก่อตับอักเสบเรื้อรัง
24 พฤษภาคม 2562

เชื้อไวรัสตับอักเสบ เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถก่อให้เกิดอาการตับอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง

ชนิดของเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังได้บ่อย มีดังนี้

ชนิดของไวรัสตับอักเสบ

การติดต่อของเชื้อ

ไวรัสตับอักเสบบี

-  ไม่มียารักษาให้หายขาด แต่ชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

-  มีวัคซีนที่ป้องกันเชื้อได้

 การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่ง การถ่ายเลือด การใช้เข็มร่วมกัน และเพศสัมพันธ์ รวมถึงจากแม่สู่ลูกได้อีกด้วย

ไวรัสตับอักเสบซี

-  รักษาให้หายขาดได้

-  ไม่มีวัคซีนป้องกัน

 การถ่ายเลือด การใช้เข็มร่วมกันและจากแม่สู่ลูก มีโอกาสติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ได้น้อย

          เชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซีนั้นมีความอันตราย หากได้รับเชื้อมาโดยไม่รู้ตัว ปล่อยให้โรคลุกลาม ไม่ได้รับการรักษาอาการตับอักเสบเรื้อรังนำไปสู่โรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับได้ ดังนั้นประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้ที่ใช้ยาเสพติดวิธีฉีด ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัย เป็นต้น ควรรับบริการตรวจคัดกรองหาเชื้อ เพื่อรับการรักษาให้เร็วที่สุด

วิธีการป้องกันการติดเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบบีและซี

  • ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการสัก ฝังเข็ม หรือเจาะ โดยใช้เข็มหรือหมึกร่วมกับผู้อื่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมร่วมกัน เช่น มีดโกนหนวด เป็นต้น
  • ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี โดยวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เป็นหนึ่งในวัคซีนมาตรฐานสำหรับเด็กแรกเกิดทั่วประเทศ ดังนั้นผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปฉีดวัคซีนให้ครบตามนัดทุกครั้ง โดยได้วัคซีนเข็มแรกเมื่อแรกเกิด และเข็มต่อ ๆ ไป เป็นแบบวัคซีนรวมทั้งป้องกันโรคคอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก และไวรัสตับอักเสบบี เมื่ออายุ 2, 4 และ 6 เดือน ส่วนผู้ใหญ่ หากต้องการฉีดวัคซีน ควรตรวจก่อนว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ โดยผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ควรฉีดทันทีที่มีโอกาส คือ 3 ครั้ง โดย ฉีดเข็มที่ 1 นับเป็นเดือนที่ 0

           ฉีดเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 1 เดือน

ฉีดเข็มที่ 3 หลังจากเข็มแรก 6 เดือน

กรณีไม่สามารถฉีดได้ตามนัด สามารถฉีดเข้มที่ 2 และ 3 หลังจากวันนัดไม่เกิน 1 เดือน แต่ไม่แนะนำให้ฉีดก่อน และเมื่อฉีดเข็มที่ 3 ครบแล้ว ควรตรวจภูมิคุ้มกันซ้ำ เพื่อยืนยันผล

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ตับอักเสบ
ไวรัสตับอักเสบ