ช็อกโกแลตเป็นของหวานที่หลายคนชอบ เมื่อรับประทานแล้วทำให้รู้สึกตื่นตัว สดชื่น อารมณ์ดี เพราะในช็อกโกแลตมีผงโกโก้เป็นส่วนประกอบหลัก เมล็ดโกโก้มีสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น กาเฟอีน(caffeine) อัลคาลอยด์(Alkaloid) ทีโอโบรมีน(theobromine) และโพลีฟีนอล(Polyphenol) โดยสารเหล่านี้มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ขับปัสสาวะ ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ นอกจากนี้ช็อกโกแลตยังมีไขมัน และน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ
คำถามที่ว่ารับประทานช็อกโกแลตทำให้โง่ จริงหรือ คำตอบคือ ไม่จริง ความโง่ของคนเรานั้น
ไม่สามารถวัดได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารบางชนิดในระยะยาวอาจทำให้เกิดอาการทางสมอง
ซึ่งในทางการแพทย์หมายความว่าสมองไม่สามารถทำงานได้ปกติ หรือความสามารถของสมองลดลง มีผลต่อการเรียนรู้ และความจำ ซึ่งการรับประทานช็อกโกแลตไม่ได้ทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของสมองดังกล่าว
ดังนั้นการรับประทานช็อกโกแลตได้ ไม่ได้ทำให้โง่ แต่ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม เพราะนอกจากผงโกโก้แล้ว ช็อกโกแลตยังมีส่วนประกอบอื่น เช่น ไขมันโกโก้ และน้ำตาล การรับประทานช็อกโกแลตปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิต เบาหวาน หัวใจ
แนะนำการเลือกรับประทานช็อกโกแลตดังนี้
- อ่านฉลากพิจารณาส่วนประกอบสำคัญ ชื่อและที่อยู่ของผู้ผลิต หรือนำเข้า เดือนและปี
ที่ควรบริโภคก่อน และข้อมูลโภชนาการ(ถ้ามี) - บริโภคในปริมาณที่เหมาะสม
- บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) โดยสังเกตเครื่องหมาย อย. ก่อนซื้อทุกครั้ง
สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์