ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) บรรเทาอาการปวดประจำเดือน
30 มีนาคม 2564

อาการปวดประจำเดือนเป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย ในขณะที่เกิดประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะสร้างสารที่ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวจึงเกิดอาการปวดเกร็งท้องน้อย ซึ่งความรุนแรงของอาการปวดจะแตกต่างกันในแต่ละคน บางคนปวดไม่รุนแรง บางคนมีอาการปวดมากจนต้องหา วิธีบรรเทาอาการ ซึ่งการใช้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้บรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้หากอาการปวดนั้นอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง

          วิธีบรรเทาอาการปวดประจำเดือนมีหลายวิธีด้วยกัน 

  • บรรเทาอาการโดยไม่ใช้ยา เช่น ประคบร้อนบริเวณท้องน้อย ออกกำลังกายเป็นประจำ  
  • บรรเทาอาการด้วยยา ได้แก่ 
  1. ยากลุ่ม NSAIDs มีฤทธิ์ยับยั้งโพรสตาแกลนดิน บรรเทาอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง
    ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช้กับผู้ที่มีภาวะเลือดออก หรือมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด
    โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร 
  2. ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) มีฤทธิ์ยับยั้งโพรสตาแกลนดินอ่อน ๆ จึงบรรเทาอาการได้ใน
    ระยะสั้น ๆ เหมาะกับอาการปวดที่ไม่รุนแรง และไม่ใช่กับผู้ที่ตับ/ไตมีปัญหา   
  3. ยากลุ่มฮอร์โมน การใช้ฮอร์โมนต้องเลือกให้เหมาะสมเฉพาะบุคคล และมีผลข้างเคียง
    เพื่อความปลอดภัยต้องใช้ในความดูแลของแพทย์

           ดังนั้น สรุปได้ว่าสามารถใช้ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้หากเป็นอาการปวดที่ไม่รุนแรง และบรรเทาได้ในระยะสั้นแม้จะสามารถหาซื้อพาราเซตามอล (Paracetamol) มาใช้ได้เองแต่หากใช้ไม่ถูกวิธีย่อมก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน 

           สำหรับยาพาราเซตามอล (Paracetamol)  แนะนำให้รับประทานตามน้ำหนักตัว โดยให้ 10 - 15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และแนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล (Paracetamol)  เมื่อมีอาการปวดเท่านั้น และใช้ยาห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ไม่รับประทานเกินวันละ 8 เม็ด (ขนาด 500 มิลลิกรัม/เม็ด) และไม่ควรรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานาน

          อย่างไรก็ตาม หากมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบความผิดปกติ 

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
ผลิตภัณฑ์ยา
สาระความรู้
ยาพาราเซจตามอล
ยาพาราเซตามอล
ปวดประจำเดือน
พาราเซตามอล