
กระดูกพรุน คือภาวะที่เนื้อกระดูกบางลงจากปกติ ความแข็งแรงของกระดูกลดลง ทำให้กระดูกหักง่าย พบมากในผู้สูงอายุโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน พันธุกรรม การขาดวิตามินดี การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
สำหรับกาแฟนั้นมีกาเฟอีนเป็นส่วนประกอบ ซึ่งกาเฟอีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากมีผลขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย และเพิ่มการขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ ซึ่งอาจส่งผลต่อแคลเซียมในกระดูกก็จริง แต่ไม่ได้มีผลกระทบที่รุนแรงจนสามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่า การได้รับกาเฟอีนจากการดื่มกาแฟเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน
ดังนั้น ยังสามารถดื่มกาแฟได้ในดื่มในปริมาณที่เหมาะสม และแนะนำให้อ่านฉลากปริมาณกาเฟอีนที่ควรได้รับต่อวัน คือไม่เกินวันละ 300 – 400 มิลลิกรัมกรณีเป็นกาแฟสำเร็จรูปพร้อมดื่มชนิดเหลว หรือประมาณ 3 แก้ว โดยกาแฟ 2 ช้อนชา ผสมน้ำ 150 มิลลิลิตร มีปริมาณกาเฟอีนประมาณ 100 มิลลิกรัม นอกจากนี้แล้วควรระมัดระวังการได้รับน้ำตาล และครีมที่มากเกินพอดีจากการดื่มกาแฟ เพราะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด
โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ
อย่างไรก็ตาม สามารถดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ โดย
- รับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
- ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม