สมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน รับประทานร่วมกันส่งผลอย่างไร
15 สิงหาคม 2565

สมุนไพรเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน ด้วยเชื่อว่ามาจากธรรมชาติ มีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยมากกว่ายาแผนปัจจุบัน เกิดเป็นความนิยมนำมาใช้ควบคู่กับยาแผนปัจจุบันเพื่อหวังผลการรักษาที่ดีขึ้น ทำให้บ่อยครั้งมักพบอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาแผนปัจจุบันร่วมกับการใช้สมุนไพร หรือยาแผนโบราณ ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น เรามาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสารเคมีจากธรรมชาติหลายชนิด สารเคมีเหล่านี้เมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกายจะต้องถูกเปลี่ยนแปลงโดยกระบวนการทางชีวเคมี หรือเมตาบอลิซึมเพื่อเพิ่มความสามารถในการละลายน้ำ ช่วยเร่งการกำจัดสารเหล่านั้นออกจากร่างกาย รวมทั้งเป็นการทำลายฤทธิ์หรือพิษของสารเหล่านั้นด้วย  ซึ่งเป็นกระบวนการเดียวกันกับที่ร่างกายใช้ในการเปลี่ยนแปลงสารเคมีอื่น ๆ รวมถึงยาแผนปัจจุบัน

อันตรกิริยา (Interactions) คือ ปฏิกิริยาระหว่างสาร 2 ชนิด ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร   
ตัวอย่างรายงานปฏิกิริยาระหว่างสมุนไพรกับยาแผนปัจจุบัน

สมุนไพร

ยาแผนปัจจุบัน

ผลจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น

แปะก๊วย

แอสไพริน (Aspirin): ยาแก้ปวด,
ลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือด

วาร์ฟาริน (Warfarin): ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด

มีโอกาสเลือดออกง่าย และเลือดแข็งตัวช้า

ตังกุย
คาโมมายล์

วาร์ฟาริน (Warfarin): ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด

มีโอกาสเลือดออก และเลือดไหลไม่หยุด

กระเทียม

วาร์ฟาริน (Warfarin): ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด

มีโอกาสเลือดออก และเลือดไหลไม่หยุด

โสม

ยาต้านมะเร็ง (Imatinib)

อาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น เช่น การเป็นพิษต่อตับ

ชะเอม

ยาในกลุ่มรักษาโรคความดันโลหิตสูง

อาจทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตได้เมื่อใช้ยาในขนาดปกติ

ชา ชาเขียว

กรดโฟลิก (Folic acid) : ยาบำรุงเลือด

ไม่ได้ผลการรักษาจากยา

ชาเขียว

ยาที่มีโครงสร้างเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloid) และโลหะหนักเช่น Iron, Atropine, Codeine, Theophylline และPseudoephedrine

อาจเกิดสารประกอบที่ซับซ้อน (Complex) ทำให้ร่างกายดูดซึมยาได้ลดลง

มะขามแขก

ไดจอกซิน (Digoxin) : ยารักษาโรคหัวใจ

อาจทำให้อาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น เช่น หัวใจเต้นผิดปกติ

 

ดังนั้น ไม่ควรละเลยเรื่องความปลอดภัยของการเลือกใช้ การพิจารณาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรควรตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์ว่าตรงกับที่ได้รับอนุญาตผลิตภัณฑ์จากอย. หรือไม่ ตรวจสอบชื่อ สรรพคุณและผู้ผลิต สังเกตคำ หรือข้อความที่โอ้อวดสรรพคุณหรือข้อความที่เป็นเท็จ เกินจริง ที่สำคัญควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา

 

ข้อมูลอ้างอิง : 

https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0209.pdf
https://pharm.tu.ac.th/uploads/pharm/pdf/confer/20190401_05.pdf
อันตรกริยาของสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร กับยาแผนปัจจุบัน For CPE edited (1).pdf
ยาแผนไทยทดแทนยาแผนปัจจุบัน.pdf
Srinagarind Medical Journal (ejnal.com)
MergedFile (pknhospital.com)
https://www.gj.mahidol.ac.th/main/ttm/herb-right/
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : รู้เท่าทัน...โฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร (oryor.com)

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
อย.
FDAknowledge
oryor
ยา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
FDAthai
สมุนไพร
ยาสมุนไพร
ยาแผนปัจจุบัน
interaction
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
อันตรกิริยา
Pharmacodynamic
Pharmacokinetic
synergisticeffects
antagonisteffects