
ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลาย เช่น ผงโพรไบโอติกฟรีซดราย ขนมขบเคี้ยว นมผง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เป็นต้น ซึ่งในหนึ่งผลิตภัณฑ์อาจประกอบด้วยโพรไบโอติกหนึ่งชนิดหรือหลายสายพันธุ์ แต่ทั้งนี้อาหารที่มีการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกต้องได้รับอนุญาตจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา และต้องใช้ชนิดของจุลินทรีย์โพรไบโอติกตามชนิดที่กําหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการใช้จุลินทรีย์โพรไบโอติกในอาหาร และมีปริมาณจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่ยังมีชีวิตอยู่ คงเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 106 CFU ต่ออาหาร 1 กรัม ตลอดอายุการเก็บรักษาของอาหารนั้น ซึ่งผ่านการศึกษาคุณสมบัติความเป็นโพรไบโอติก รวมถึงประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยมาแล้ว
การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกสามารถดูได้จากฉลากของผลิตภัณฑ์ ที่ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทย และอาจมีข้อความเป็นภาษาอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกันกับภาษาไทยแสดงไว้ด้วยก็ได้ ซึ่งมีรายละเอียดสำคัญบนฉลากที่ควรสังเกต ดังนี้
1) มีเลขสารบบอาหาร 13 หลัก ชื่ออาหาร ส่วนประกอบ ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิต/ผู้นำเข้า วันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ และข้อมูลโภชนาการ เป็นต้น
2) ข้อความว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช้สำหรับรักษา บำบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค
3) สกุล(Genus) ชนิด(Species) และสายพันธุ์ (Strain) (ถ้ามี) ของจุลินทรีย์โพรไบโอติกที่เป็นส่วนผสม
4) ปริมาณและช่วงระยะเวลาที่แนะนำให้บริโภคซึ่งให้ผลต่อสุขภาพตามกล่าวอ้าง
5) ข้อความการกล่าวอ้างทางสุขภาพ
6) ข้อแนะนำการใช้ และสภาวะการเก็บรักษาที่เหมาะสม
7) ช่องทางสำหรับให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค เช่น สถานที่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ หรือเว็บไซต์
ทั้งนี้ฉลากผลิตภัณฑ์อาหารโพรไบโอติกต้องมีข้อความว่า “ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช้สําหรับรักษา บําบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค” เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดและนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
ข้อมูลอ้างอิง
4 ขั้นตอน การเลือกโพรไบโอติคส์ | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)
ประกาศกระทรวงสาธารณสขุ เรื่อง การใช้จุลินทรีย์โพรไบโอตกในอาหาร