ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ปัญหาของคนทำงาน
12 มีนาคม 2567

อาการออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) มักพบได้บ่อยในคนที่ทำงานอย่างหนึ่งซ้ำ ๆ เป็นระยะเวลานาน หรืออยู่ในท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมต่อเนื่อง เช่น นั่งทำงานนาน ๆ ในท่าเดิมหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม ความเครียดจากการทำงาน หรือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ

อาการ

ปวดกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย มีอาการปวดบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวบริเวณใกล้เคียงร่วมด้วย และอาการที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ เช่น มือชา นิ้วชา แขนชา รวมถึงอาการอ่อนแรงหากมีการกดทับเส้นประสาทนานเกินไป

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมนั้นมีหลายวิธี ขึ้นกับอาการและบริเวณที่เกิดอาการ เช่น

  1. ยืดกล้ามเนื้อที่ถูกวิธี ด้วยตนเอง
  2. ทำกายภาพบำบัดด้วยอุปกรณ์
  3. การรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่น ๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย
  4. การรักษาด้วยยา

โดยยาที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

1.  ยาใช้ทาภายนอก ให้พยายามเลือกใช้ก่อนยาแบบรับประทาน เพราะมีความปลอดภัยมากกว่า และควรหลีกเลี่ยงการนวดบริเวณที่อักเสบ

2.  ยารับประทาน เช่น ยาแก้ปวดพาราเซตามอล ยาลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเกิดผลข้างเคียงได้มากกว่ายาใช้ภายนอก

การใช้ยาเป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดเท่านั้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกครั้ง

เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดเมื่อยจากออฟฟิศซินโดรมส่งผลรุนแรง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอิริยาบถการทำงานให้เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ 


ข้อมูลอ้างอิง


ยาบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม


ออฟฟิศซินโดรม ดูแล ป้องกัน รักษา อย่างไร ? | โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (siphhospital.com)

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การรักษา
การเลือกซื้อ
ผลิตภัณฑ์ยา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สาระความรู้
อย.
ยา
ออฟฟิศซินโดรม
การใช้ยาอย่างถูกต้อง
ปวดเมื่อย
อาการปวดเมื่อย
ปวดเมื่อยตามร่างกาย