การกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารฟังก์ชัน
12 พฤศจิกายน 2567


ปัจจุบันอาหารเพื่อสุขภาพ กำลังเป็นที่นิยม และได้รับความสนใจจากทั่วโลก อาหารฟังก์ชัน หรืออาหารที่มีการเติมสารอาหาร และสารที่มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ เป็นกลุ่มอาหารที่ไม่ได้มีเพียงคุณค่าทางโภชนาการที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการทำงานในร่างกายให้ทำหน้าที่ได้เป็นปกติ หรือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ

อาหารกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มอาหารที่ทั่วโลกให้ความสนใจการแสดงฉลากและการโฆษณากล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ต่อสุขภาพเป็นจุดขายและตอบสนองต่อกระแสความใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภค โดยที่การกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claims) ใด ๆ บนฉลากอาหาร ต้องได้รับการพิสูจน์ทราบโดยอยู่บนพื้นฐานของเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและสุขภาพที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปและน่าเชื่อถือ

ดังนั้น เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยและประโยชน์จากการบริโภคอาหารสูงสุด ควบคู่กับการอำนวยความสะดวกทางการค้าให้สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมถึง อย. ส่งเสริม สนับสนุนการขับเคลื่อนอาหารฟังก์ชัน จึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ ๔๔๗) .. ๒๕๖๖ ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.. ๒๕๒๒ เรื่องการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารบนฉลาก ซึ่งได้กำหนดนิยามและลักษณะของการกล่าวอ้างทางสุขภาพหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการกล่าวอ้างทางสุขภาพของอาหารให้มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ และมีบัญชีท้ายประกาศฯ กำหนดข้อความกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Positive list) ๓ ลักษณะ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งประกอบด้วย

() การกล่าวอ้างหน้าที่ของสารอาหาร (Nutrient function claims) ของสารอาหาร ๒๘ รายการ จำนวน ๑๓๕ ข้อความ ตัวอย่างเช่น โปรตีนจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย” “วิตามินซีมีส่วนช่วยในกระบวนการต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นต้น

() การกล่าวอ้างหน้าที่อื่น (Other function claims) ของ ๖ ส่วนประกอบของอาหาร จำนวน ๘ ข้อความ ตัวอย่างเช่น เบต้า-กลูแคนจากข้าวโอ๊ต/ข้าวบาร์เลย์ มีส่วนช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล

โคลีนมีส่วนช่วยในเมตาบอลิซึมปกติของไขมันเป็นต้น

() การกล่าวอ้างการลดความเสี่ยงของการเกิดโรค (Reduction of disease risk claims) ของ ๒ ส่วนประกอบของอาหาร ๔ ข้อความ ตัวอย่างเช่น อาหารที่มีโซเดียมต่ำ อาจช่วยลดความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจเป็นต้น

โดยประกาศฯ ดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับในวันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสามารถนำข้อความเหล่านี้ไปใช้ในการแสดงฉลาก และขอโฆษณาได้โดยไม่ต้องส่งเอกสารมาให้ อย. ประเมิน ช่วยลดขั้นตอนและลดระยะเวลา แต่หากประสงค์จะกล่าวอ้างทางสุขภาพที่นอกเหนือจากบัญชีท้ายประกาศฯ นี้ ผู้ประกอบการสามารถยื่นรายงานผลการประเมินการกล่าวอ้างทางสุขภาพต่อหน่วยงานที่ขึ้นบัญชีกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่ง อย. จะพิจารณาอนุญาตได้เป็นรายกรณีได้ อย่างไรก็ตาม อย. มีแผนในการเพิ่ม Positive list โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรวบรวมและประเมินทางวิชาการของสารอาหารและสารต่าง ๆ เพิ่มเติม เพื่อส่งเสริมการประกอบกิจการในกลุ่มอาหารฟังก์ชัน เพิ่มมูลค่าทางการค้าและเศรษฐกิจให้ประเทศไทยต่อไป


ข้อมูลอ้างอิง

อย. ออกประกาศหนุนการกล่าวอ้างทางสุขภาพของ “อาหารฟังก์ชัน” หวังสร้างมูลค่าเศรษฐกิจไทย



คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การผลิต
การเลือกซื้อ
การแปรรูป
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผลิตภัณฑ์อาหาร
สาระความรู้
อาหาร
อย.