อย. เตือน ระวังยาจุดกันยุงเถื่อน
27 สิงหาคม 2561

          อย. เตือน ระวัง ยาจุดกันยุงชนิดขดเถื่อน ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ ไม่มีเลขทะเบียนวัตถุอันตราย
พบผสมสารที่ อย. ยังไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าซื้ออย่าใช้ยาจุดกันยุงชนิดนี้เพราะอาจได้รับอันตรายได้ เนื่องจากสารนี้ยังไม่มีข้อมูลวิชาการยืนยันในด้านความปลอดภัย

          เภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏ เป็นข่าวยาจุดกันยุงยี่ห้อก็อดซิลลา ลักลอบน าเข้าจากพม่า ท าลูกสุนัขตาย3 ตัว นั้น ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เคยออกข่าวเตือนไปแล้ว เมื่อตุลาคม 2560 ซึ่งคือยาจุดกันยุงชนิดขดชื่อGODZILLA ฉลากเป็นภาษาพม่า ACTIVE INGREDIENT :Dimefluthin 0.025 % w/w ไม่มีเลขทะเบียนวัตถุอันตรายในจังหวัดสมุทรสาคร จึงเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีสารแอลเล ทริน ไอโซเมอร์ (AllethrinIsomers) และสารเฮปต้าฟลูทริน (Heptafluthrin) ซึ่งจัดเป็นวัตถุอันตราย ชนิดที่ 3 ซึ่งต้องขึ้นทะเบียน แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ยังพบสารเฮปต้าฟลูทริน (Heptafluthrin) เป็นสารส าคัใในผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่เคยได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย. มาก่อน และองค์การอนามัยโลกยังไม่มีการรับรองสารนี้ในยาจุดกันยุง เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาในด้านความปลอดภัย จึงไม่ผ่านการประเมินด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ รวมถึงความเหมาะสมของอัตราการใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อด าเนินการกับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าว วันนี้
          อย.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบร่วมกับส านักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร และส านักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐมแล้ว เพื่อด าเนินการกับผู้จ าหน่าย และสืบหาแหล่งที่ลักลอบการน าเข้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งประสานแจ้งส านักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งเพื่อเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์จุดกันยุงชนิดขดและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ผิดกฎหมาย โดยเน้นจังหวัดที่มีคนงานพม่าอาศัยอยู่จ านวนมาก เช่น สมุทรปราการ ระนอง เป็นต้น
          รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การน าเข้าและจ าหน่ายผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายที่มิได้ขึ้นทะเบียนมีความผิดตามกฎหมาย ทั้งนี้ผู้บริโภคควรให้ความส าคัใและตรวจดูเลขทะเบียน และเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้และอ่านวิธีการใช้ ค าเตือน เพื่อใช้ให้ถูกต้องด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าได้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นอย่างถูกวิธีและได้รับการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย ใช้แล้วไม่เกิดอันตราย ทั้งนี้ หากผู้บริโภคพบเห็นการโฆษณาหรือจ าหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพใดที่คาดว่าจะผิดกฎหมายหรืออวดอ้างสรรพคุณเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย.1556 Email: 1556@fda.moph.go.th ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือผ่านทาง Oryor Smart Application หรือส านักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบเลขที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพว่าเป็นผลิตภัณฑ์ได้รับอนุใาตจาก อย. หรือไม่ ได้ทาง Oryor Smart Application อีกด้วย

แท็กที่เกี่ยวข้อง
สมชาย ปรีชาทวีกิจ
ก็อดซิลลา
แอลเล ทริน ไอโซเมอร์
สารเฮปต้าฟลูทริน