คำ/ข้อความที่ห้ามใช้โฆษณาสรรพคุณของผลิตภัณฑ์อาหาร/เสริมอาหาร
20 สิงหาคม 2561

สมัยนี้คนขายผลิตภัณฑ์อาหาร/เสริมอาหารกันเกลื่อนเลย โดยเฉพาะในโซเชียล คนขายส่วนใหญ่ก็ยังไม่แน่ใจว่าคำโฆษณาผลิตภัณฑ์ตนเองแบบไหนที่ถูกต้อง หรือแบบไหนจะเกินจริงเกินไป มาลองดูคำ/ข้อความที่ห้ามใช้โฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร/เสริมอาหาร กันดีกว่า เวลาโปรโมทผลิตภัณฑ์จะได้โฆษณากันอย่างถูกต้อง ไม่โอ้อวดเกินจริง เพราะหากโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร/เสริมอาหารเกินจริง ถือว่าผิดกฎหมาย อาจได้รับโทษกันไปโดยไม่รู้ตัวเลยนะ

หรือในมุมผู้บริโภค ดูไว้ก็ไม่เสียหาย ก่อนที่จะเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะได้มีแนวทางในการพิจารณาผลิตภัณฑ์ หากผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการโฆษณาโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ก็อย่าไปซื้อมารับประทาน เพราะอาจจะเกิดผลเสียต่อร่างกาย ดีไม่ดีถึงขั้นเสียชีวิตได้นะ จำไว้ง่าย ๆ อาหาร คือ อาหาร จะไม่สามารถอ้างว่ารักษา ป้องกันโรค ลดน้ำหนัก หรือเพิ่มสมรรถภาพทางเพศได้

 

คำ/ข้อความที่ห้ามใช้โฆษณา

-          ศักดิ์สิทธิ์          -  มหัศจรรย์     -  ปาฏิหาริย์     -  วิเศษ           -  ยอดเยี่ยม

-          ชั้นเลิศ            -  ล้ำเลิศ         -  เลิศล้ำ         -  เลิศที่สุด       -  เยี่ยมยอด

-          ดีที่สุด             -  ที่สุด           -  สุดเหวี่ยง      -  ดีเด็ด           -  ยอดไปเลย

-          เยี่ยมไปเลย       -  เลิศเลอ        -  ดีเลิศ           -  สุดยอด        -  ฮีโร่

-          หนึ่งเดียว         -  ที่หนึ่งเลย      -  บริสุทธิ์        -  ชนะเลิศ

ตัวอย่างคำ/ข้อความ ที่ห้ามใช้โฆษณาอาหาร/เสริมอาหาร

-          ลดความอ้วน/ลดน้ำหนัก                    

-          แก้ปัญหาปวดประจำเดือน

-          ทำให้ท่านชายอึดขึ้น  ใหญ่ขึ้น               

-          บำรุง-เสริมสร้างประสิทธิภาพทางเพศ      

-          เพิ่มภูมิต้านทานแก่ร่างกาย                 

-          ล้างพิษ 

-          ต่อต้านอนุมูลอิสระ                          

-          ช่วยซ่อมแซมและขจัดสารพิษในร่างกาย

-          ลดโคเลสเตอรอล   ลดความดันโลหิต   ลดไขมันในเส้นเลือด

-          ป้องกันโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว

 

อาหาร ไม่ใช่ยา ห้ามโฆษณาว่ามีผลในการรักษา หากพบเห็นมั่นใจได้เลยว่าโอ้อวดเกินจริง อย. ไม่เคยอนุญาตให้โฆษณา

แท็กที่เกี่ยวข้อง
เสริมอาหาร
ลดความอ้วน
อย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
โฆษณาเกินจริง
ป้อกันโรค
ลดน้ำหนัก
สมรรถภาพทางเพศ