ระวัง กินปลาร้าไม่สุก เสี่ยงติดพยาธิใบไม้ในตับ
30 พฤศจิกายน 2563

รู้หรือไม่ หากกินปลาร้าไม่สุก เสี่ยงติดพยาธิใบไม้ในตับได้ แนะนำให้กินปลาร้าที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

          ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ปลาร้าบรรจุขวด หรือภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายมากมาย สิ่งสำคัญในการบริโภคปลาร้าให้ปลอดภัยคือ การปรุงสุกก่อนบริโภค เพราะปลาร้า และปลาส้ม เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ซึ่งการกินแบบปรุงไม่สุก อาจทำให้เพิ่มความเสี่ยงในการติดพยาธิใบไม้ในตับและเชื้อโรคอื่น ๆ นอกจากนี้อาหารอื่นที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนพยาธิใบไม้ในตับ ได้แก่ อาหารทางภาคอีสานที่ไม่สุก เช่น ก้อยปลา ปลาสด

ผู้ที่ติดพยาธิใบในตับไม้บางรายจะไม่มีอาการผิดปกติ แต่บางรายอาจมีอาการ เบื่ออาหาร ท้องอืด
ตัวเหลือง ตาเหลือง ดังนั้นผู้ที่ชอบกินอาหารไม่สุก ควรสังเกตอาการตนเองดี ๆ

          หากมีอาการผิดปกติดังกล่าวควรไปพบแพทย์ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้วว่าหากติดพยาธิใบไม้ในแพทย์อาจให้ยารักษา แต่เมื่อรักษาหายแล้วหากยังกินปลาดิบที่ไม่สุก ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคได้อีกจึงแนะนำให้กินปลาร้าที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

          วิธีการกินปลาร้า และปลาส้ม ให้ปลอดภัย กรณีที่ไม่ได้บรรจุขวด ควรดูลักษณะทางกายภาพว่า
มีสิ่งเจือปนและกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยรับประทานหรือไม่ โดยเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือ และควรนำไปต้มใหม่ก่อนนำรับประทาน กรณีบรรจุขวดควรสังเกตว่า

          1. บรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด

          2. มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม

          3. มีรายละเอียดบนฉลากอาหารให้ครบถ้วน เช่น แสดงข้อมูล ชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุหรือผู้นำเข้า ปริมาตรสุทธิ ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก ข้อมูลวัตถุเจือปนอาหาร ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร และวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน

          4. มีการแสดงเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย.

 

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
อาหาร
ฉลาดกิน
สุขภาพ
ปลาร้า
พยาธิใบไม้ในตับ