เป็นแผล ควรปิดพลาสเตอร์ หรือไม่
25 ตุลาคม 2564

            เวลาที่เราเป็นแผลนั้น หลายคนสงสัยว่า เราควรปิดพลาสเตอร์หรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับพลาสเตอร์ปิดแผลกัน

          พลาสเตอร์ปิดแผล คือ แผ่นปิดแผลที่ทำจากผ้าก๊อซที่มีแถบกาวอยู่ด้านหลัง ช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผล ทำให้แผลแห้งและสมานตัวเร็วขึ้น ช่วยกดแผลทำให้อาการปวดลดลง และช่วยป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ซึ่งอาจทำให้เกิดการอักเสบหรือติดเชื้อตามมาได้ 

          เวลาที่เป็นแผล สิ่งที่ควรระวังมากที่สุดก็คือ การติดเชื้อ การที่เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่รอยเปิดที่ผิวหนัง แล้วลามลงไปสู่เนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง หรืออวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับแผล ทำให้แผลติดเชื้อรุนแรง มีอาการบวม
มีกลิ่นเหม็น มีหนอง ดังนั้น เมื่อเป็นแผล ควรทำความสะอาดแผลให้ถูกวิธี  ไม่ควรปล่อยปละละเลย หลังจากทำแผลเรียบร้อยแล้ว การปิดพลาสเตอร์จะช่วยป้องกันแผลจากการติดเชื้อ และช่วยดูดซับของเหลวจากบาดแผลได้ ควรระวังไม่ให้พลาสเตอร์ปิดแผลเปียก ถ้าพลาสเตอร์เปียก ควรรีบเปลี่ยนพลาสเตอร์ทันที และควรเปลี่ยนพลาสเตอร์ทุกวัน จะช่วยให้แผลแห้งเร็วขึ้น

  • แผลมีขนาดใหญ่ ควรจะเลือกใช้พลาสเตอร์ชนิดปิดแน่น หรือกึ่งปิดแน่น เพื่อคงความชุ่มชื้น
  • แผลขนาดกลาง หรือเป็นแผลบนฝ่ามือ หัวเข่า และบริเวณอื่นที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย ก็ควรเลือกใช้พลาสเตอร์แบบแถบกาว ซึ่งควรจะสามารถกันน้ำได้ พร้อมกับมีรูระบายอากาศด้วย เพื่อทำให้เมื่อปิดแผลแล้ว แผลจะได้สะอาด ไม่อับชื้น ไม่มีการติดเชื้อโรคที่อาจจะมากับน้ำ
  • แผลมีขนาดเล็ก และไม่ได้อยู่ในบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้า หรือสัมผัสกับสิ่งสกปรกได้ง่าย ควรเลือกใช้พลาสเตอร์ขนาดเล็กหรือเลือกรูปแบบพลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล หรืออาจไม่จำเป็นต้องใช้ (ข้อความที่กองให้เพิ่ม..จะคล้ายกับคำเตือนบรรทัดถัดไปค่ะ)

          เนื่องจากพลาสเตอร์มีหลายประเภทที่แตกต่างกันทั้งรูปร่างและขนาด การเลือกใช้พลาสเตอร์ให้เหมาะสมกับชนิดของบาดแผล และการศึกษาขั้นตอนการปิดพลาสเตอร์อย่างถูกต้องจะช่วยดูแลให้แผลหายเร็วขึ้นได้

          นอกจากการใช้พลาสเตอร์ปิดแผล การทำความสะอาดแผลและการทายาฆ่าเชื้อก่อนที่จะปิดแผลก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยการเลือกซื้อยาฆ่าเชื้อนั้นควรเลือกที่มีเลขทะเบียนตำรับยา และก่อนใช้ควรดูวันหมดอายุของยาก่อนใช้ทุกครั้ง

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ผลิตภัณฑ์ยา
สาระความรู้
FDAknowledge
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
แผล
แผลเป็น
พลาสเตอร์ปิดแผล