ฟันผุ มาจากสาเหตุหลัก คือ เชื้อแบคทีเรียย่อยอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน และผลิตกรดที่ไปทำให้เกิดการสลายแร่ธาตุที่เคลือบฟัน หากไม่มีกระบวนการคืนแร่ธาตุที่มากพอ จะทำให้ฟันผุได้
เมื่อฟันผุแล้ว ต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งเสียเวลา เสียเงินค่ารักษา แต่หากปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดการติดเชื้อลุกลาม และอาจสูญเสียฟันไปในที่สุด
การจัดการกับโรคฟันผุ ควรเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา ด้วยการ
- ทำความสะอาดฟันและช่องปากอย่างถูกวิธี ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือหลังมื้ออาหาร ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารเสริมการคืนแร่ธาตุกลับสู่ผิวฟัน เช่น ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ จัดเป็นเครื่องสำอางซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อใช้ได้เอง โดยพิจารณาจาก
- ในสูตรอาจมีส่วนผสมของสารประกอบฟลูออไรด์ได้หลายชนิด เช่น โซเดียม ฟลูออไรด์ โซเดียม
โมโนฟลูโอโรฟอสเฟต แต่จะต้องมีฟลูออไรด์โดยรวมไม่เกิน 1500 ppm. - ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์มีได้หลายรูปแบบ เช่น เพสท์ เจล ครีม
- ผู้ผลิต/ผู้นำเข้าต้องจดแจ้งให้เรียบร้อยก่อนผลิตหรือนำเข้า
- จัดทำฉลากภาษาไทยจะต้องแสดงข้อความอันจำเป็นให้ครบถ้วน
การเลือกซื้อยาสีฟันผสมฟลูออไรด์
- ซื้อยาสีฟันจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ภาชนะบรรจุปิดสนิทเรียบร้อย มีฉลากภาษาไทยครบถ้วน สังเกตว่าฉลากระบุเลขที่ใบรับจดแจ้ง ซึ่งแสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้จดแจ้งเรียบร้อยแล้ว
- อ่านฉลากให้ละเอียด เพราะที่ฉลากยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ต้องระบุชื่อสารประกอบฟลูออไรด์ไว้ด้วย เช่น มีสาร Sodium fluoride (โซเดียม ฟลูออไรด์), มีสาร Sodium monofluorophosphate (โซเดียม โมโน
ฟลูโอโรฟอสเฟต) - ปฏิบัติตามคำเตือนที่ฉลากอย่างเคร่งครัด คือ เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีควรใช้ยาสีฟันปริมาณเท่า
เม็ดถั่วเขียว และมีผู้ใหญ่ดูแลขณะแปรงฟัน ในกรณีที่เด็กได้รับสารฟลูออไรด์จากแหล่งอื่นด้วย ให้ปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์
ข้อมูลอ้างอิง :
: ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ (pharmacycouncil.org)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา : รู้ไว้เรื่องยาสีฟัน (oryor.com)
สารคดี อย.ตอนที่14 เรื่อง ยาสีฟันใช้เป็น ฟันแข็งแรง – สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (moph.go.th)
file_pdf_73_4326.pdf (chula.ac.th)