ข้อมูลอัพเดทล่าสุด ณ วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2566
เป็นหวัดและมีไข้ ถือเป็นอาการหลัก ๆ ที่พบได้ตลอดทั้งปี อาจพบน้ำมูกไหล ไอ จาม หรือเจ็บคอร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นที่หลากหลาย ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถหายได้เองใน 1 - 2 สัปดาห์ ด้วยการดูแลตัวเองและปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ง่าย ๆ ดังนี้
1. พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 - 8 ชั่วโมง
2. ใช้ยาบรรเทาอาการต่าง ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้
2.1 ยาลดไข้พาราเซตามอล ควรกินตามน้ำหนักตัว ซึ่งขนาดที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 10 – 15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ควรกินยาห่างกันอย่างน้อย 4 – 6 ชั่วโมง ไม่ควรกินเกิน 4,000 มิลลิกรัม/วัน และไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 5 วัน สำหรับผู้ที่เป็นไข้ (ทั้งเด็กและผู้ใหญ่) ไม่ควรกินติดต่อกันเกิน 3 วัน เนื่องจากหากยังมีไข้สูงนานกว่า 3 วัน หลังกินยาพาราเซตามอล แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของอาการไข้
2.2 ยาลดน้ำมูก หรือ ยาแก้แพ้ เช่น คลอเฟนนิรามีน ช่วยบรรเทาอาการน้ำมูกไหล และจาม จากไข้หวัดและจากการแพ้อากาศ โดยยาแก้แพ้บางชนิดมีผลข้างเคียงทำให้ง่วง เหมาะสำหรับใช้ก่อนนอน ดังนั้นไม่ควรใช้ในผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักรหรือขับรถ หลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกับยานอนหลับ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2.3 ยาแก้ไอ รักษาตามชนิดของการไอ
- ไอแห้ง บางครั้งเรียกยากลุ่มนี้ว่ายากดอาการไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดำ ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน
- ไอแบบมีเสมหะ ได้แก่ ยาขับเสมหะ เช่น Guaifenesin และยาละลายเสมหะ เช่น Bromhexine
3. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1.5 ลิตร ควรเป็นน้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่น
4. กินอาหารที่มีประโยชน์โดยเฉพาะผักและผลไม้สดที่อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ และอาหารที่ปรุงสุกใหม่
5. รักษาอุณหภูมิร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
6. หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
7. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น สภาพอากาศที่เย็นหรือร้อนจัด
หากดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม และได้กินยารักษาตามอาการแล้วแต่ไม่ดีขึ้นภายใน 5-7 วัน แนะนำให้พบแพทย์
ข้อมูลอ้างอิง :
ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ หรือแพ้อากาศ เป็นอะไรกันแน่? | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_specify/710
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/2013
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_specify/846
พาราเซตามอล.. ใช้อย่างไร ให้ปลอดภัย ไม่ทำลายตับ - โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (chulalongkornhospital.go.th)
https://www.rama.mahidol.ac.th/poisoncenter/th/knowledge_general_population/paracetamol
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)
https://pharmacy.mahidol.ac.th/dic/knowledge_full.php?id=27
ยาแก้ไอ มีกี่แบบ ?? | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)
Acetaminophen Toxicity in Children and Adolescents: Prevention (clevelandclinic.org)
acetaminophen oral: Uses, Side Effects, Interactions, Pictures, Warnings & Dosing - WebMD
Acetaminophen Dosage For Children & Infants | TYLENOL®