วัคซีนในวัยรุ่นส่วนใหญ่เป็นวัคซีนต่อเนื่อง
ใช้สำหรับการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งถือเป็นการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง
เพราะช่วยลดการเกิดโรคและลดความรุนแรงของโรคได้ โดยวัคซีนแต่ละชนิดมีเกณฑ์การได้รับแตกต่างกันไป
ดังนี้
1.วัคซีนตับอักเสบบี
โดยปกติทารกควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีครั้งแรกเมื่อแรกเกิด
และจะต้องฉีดวัคซีนจนครบชุดเมื่ออายุครบ 6
เดือน
- แต่สำหรับวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้มาก่อน ควรฉีดวัคซีนโดยแนะนำให้ฉีด 3 เข็ม ระยะห่าง
0 , 1 และ 6 เดือนตามลำดับ โดยวัคซีนเข็มที่สองไม่ควรฉีดก่อน 1 เดือน หากเลยกำหนด 1 เดือนให้ฉีดเข็มที่สองทันทีที่นึกได้
และนับต่อไปอีก 5 เดือนสำหรับเข็มที่สาม- กรณีได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบีไม่ครบตามกำหนด (ไม่ครบ 3 เข็ม) ควรฉีดวัคซีนต่อโดยเร็วที่สุด
https://www.immunize.org/vis/thai_hepatitis_b.pdf
https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1243
https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1641720210104092850.pdf (Slide18)
2.วัคซีนหัด
หัดเยอรมัน คางทูม
ปกติจะฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ
9 เดือน และเข็มที่
2 เมื่ออายุ 1 ปี 6
เดือน - สำหรับวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ ควรได้รับวัคซีน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ แต่หากเคยได้รับมาแล้ว 1 เข็มควรฉีดเพิ่มอีก 1 เข็ม
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาในผู้ที่แพ้ยานีโอมัยซิน
เจลาติน หรือเคยมีปฏิกิริยากับวัคซีน MMR อย่างรุนแรง
3.วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี
- ยุงรำคาญเป็นพาหะนำโรค
จะแพร่เชื้อไวรัสในตัวยุงไปยังคนหรือสัตว์ที่ถูกกัด
- สำหรับวัยรุ่นที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนี้ ควรรับวัคซีน 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 3-12
เดือน ขึ้นกับชนิดของวัคซีน อาจต้องฉีดกระตุ้นทุก ๆ 4-5 ปี
เพื่อให้ภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้องกันโรคได้
4.วัคซีนตับอักเสบเอ
- ไวรัสตับอักเสบเอติดต่อทางการกิน
ก่อให้เกิดโรคตับอักเสบและตับวายเฉียบพลันได้
- ปัจจุบันมีวัคซีนตับอักเสบเอชนิดฉีด 1 เข็ม เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น และวัคซีนฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 6-12
เดือน
5.วัคซีนอีสุกอีใส
- โรคอีสุกอีใสในวัยรุ่นมีความรุนแรงสูง
ควรฉีดวัคซีนนี้ในวัยรุ่นทุกคนที่ยังไม่เป็นโรคและไม่เคยฉีดวัคซีน
- ฉีด 2 เข็มห่างกันอย่างน้อย
3 เดือน แนะนำในผู้ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ
13 ปีขึ้นไป ให้ฉีด 2 เข็ม ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
6.วัคซีนโรคคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนชนิดไร้เซลล์
- แนะนำให้กระตุ้นเมื่ออายุ 11-12 ปี และหลังจากนั้นกระตุ้นด้วยวัคซีนโรคคอตีบ-บาดทะยัก
ทุก 10 ปี
- หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนบาดทะยัก คอตีบ ไอกรน ที่อายุครรภ์ 27-36
สัปดาห์ในทุกการตั้งครรภ์
7.วัคซีนเอชพีวี
- ป้องกันการเกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากช่องคลอดและทวารหนัก
- วัคซีนมีหลายชนิด คือ วัคซีนชนิด 2
สายพันธุ์ 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์
- แนะนำฉีดในวัยรุ่น อายุ 9-26 ปี ฉีด 3 เข็ม และในวัยรุ่นแข็งแรงดี หากเข็มแรกฉีดก่อนอายุ 15 ปี ให้ฉีด 2 เข็ม
-
ประสิทธิภาพของวัคซีนจะสูงในผู้ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อน
8.วัคซีนไข้หวัดใหญ่
- วัคซีนมี 2 ชนิด คือ
วัคซีนชนิด 3 และ 4 สายพันธุ์
- แนะนำฉีดวัคซีนในวัยรุ่นทุกปี ปีละ 1 เข็ม เนื่องจากสายพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
- ห้ามให้ในผู้ที่แพ้ยา/แพ้วัคซีน หรือส่วนประกอบของวัคซีนนี้
โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ไข่ โปรตีนจากไก่ ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในกระบวนการผลิตวัคซีน เช่น ยานีโอมัยซิน (Neomycin) และยาโพลีมัยซิน (Polymyxin)
9.วัคซีนไข้เลือดออก
- ฉีดได้ในผู้มีอายุ 9-45 ปี ฉีด 3 เข็ม แต่ละเข็มฉีดห่างกัน
6 เดือน
สามารถสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันไข้เลือดออกได้ 5-6 ปี
นับจากวันที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก
- แนะนำฉีดในผู้ที่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนและผู้อาศัยในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
สำหรับผู้ไม่เคยติดเชื้อไข้เลือดออกควรตรวจเลือดก่อนการฉีดวัคซีน
หลังได้รับวัคซีนอาจพบอาการข้างเคียง 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1.อาการทั่วไป เช่น อาการไข้ อ่อนเพลีย
ผื่น เป็นต้น
2.อาการเฉพาะที่
เช่นอาการปวด บวมแดง เจ็บ คันบริเวณที่ฉีด
สามารถบรรเทาได้โดยประคบเย็นบริเวณที่บวม
ซึ่งจะช่วยให้ทุเลาลง หรืออาจทานยาแก้ปวดลดไข้ร่วมด้วย
การรับวัคซีนแต่ละชนิดมีข้อบ่งใช้
ระยะเวลา รูปแบบการฉีด และข้อจำกัดของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป จึงควรได้รับการพิจารณาจากแพทย์ถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยก่อนทุกครั้ง
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.pidst.or.th/A745.html
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/2029
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1783
https://oryor.com/media/checkSureShare/media_specify/656
https://oryor.com/media/checkSureShare/media_specify/654
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1856
แนวทางการให้วัคซีนJEเชื้อเป็นทั่วประเทศ.pdf (moph.go.th)
วัคซีนในวัยรุ่น – ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก (mahidol.ac.th)
https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/วัคซีนป้องกันโรคหัด-หัด/