
เกลือประกอบด้วยโซเดียมร้อยละ 40 และคลอไรด์ร้อยละ 60 โดยส่วนใหญ่ที่เรารับประทานจะอยู่ในรูปของเกลือแกง ผงชูรส และสารปรุงแต่งต่าง ๆ นั้นหมายถึง ถ้าเราได้รับเกลือ 1 กรัม เท่ากับ โซเดียม 400 มิลลิกรัมหรือโซเดียม 1 กรัมเท่ากับเกลือ 2.5 กรัม ซึ่งโซเดียมเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายในการรักษาสมดุลของของเหลว อิเล็กโทรไลต์ เป็นส่วนสำคัญของการทำงานทางสรีรวิทยาของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ องค์การอนามัยโลกแนะนำการบริโภคโซเดียมสำหรับเด็กอายุ 2-15 ปีและผู้ใหญ่ตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ควรบริโภคโซเดียมน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือน้อยกว่า 5 กรัมต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การบริโภคเกลือหรือโซเดียมในปริมาณสูงกว่าที่ร่างกายต้องการหรือปริมาณที่แนะนำ จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ควรอ่านฉลากโภชนาการ ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (หรือฉลากหวาน มัน เค็ม) หรือสังเกตสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” (Healthier Choice) ซึ่งจะแสดงปริมาณของโซเดียมบนฉลากดังกล่าว เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารให้เหมาะสมกับสุขภาพและเพื่อหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง
ข้อมูลอ้างอิง
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/859
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/401
https://www.rama.mahidol.ac.th/th/knowledge_awareness_health/28oct2020-1438
http://www.thaihypertension.org/files/237_1.LowSalt.pdf
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/472
ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อป่วยเป็นความดันโลหิตสูง