ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ติดรสเค็มโดยไม่รู้ตัว
เนื่องจากพฤติกรรมชอบเติมเครื่องปรุงรสโดยเฉพาะ น้ำปลาเกลือ ซอสปรุงรส ผงชูรส
อีกทั้งชอบรับประทานอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป และขนมกรุบกรอบ
ที่อาหารเหล่านี้มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
แต่รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
โซเดียม คือเกลือแร่ที่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
จะทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของเกลือแร่ ช่วยกระจายตัวของน้ำในส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย ควบคุมสมดุลของกรด-ด่าง ควบคุมการเต้นของหัวใจและชีพจร
มีผลต่อความดันโลหิตและการทำงานของเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ
ซึ่งโซเดียมเป็นเกลือแร่ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
แต่เราจะได้รับโซเดียมจากอาหารที่กินเข้าไป ดังนั้น
การกินอาหารที่มีรสเค็มมากเป็นประจำ อาจทำให้ได้รับโซเดียมในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย
จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างตามมา เช่น
1.
ความดันโลหิตสูง
2.
โรคไตเรื้อรัง
3.
โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
4.
โรคหัวใจและหลอดเลือด
เราสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมง่าย ๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ปรุงรสตามใจชอบ หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารหมักดอง/แช่อิ่ม อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ขนมกรุบกรอบ และเบเกอรี หากจำเป็นต้องกิน ควรอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้ง แล้วเลือกอาหารที่มีโซเดียมน้อยที่สุด หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice) เป็นทางเลือกที่จะช่วยลดและควบคุมปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหารนั้น โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำหนดมาตรฐานว่า ควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่าเกลือ 1 ช้อนชา หรือ 5 กรัมต่อวัน หากเกินกว่าปริมาณนี้จะก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายและเกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้ เพียงเท่านี้เราก็จะมีสุขภาพที่ดีห่างไกลโรคได้แล้ว
ข้อมูลอ้างอิง
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/948
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1147
https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/859
ติดเค็ม Archives -
รามา แชนแนล
https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/salt-reduction
https://www.who.int/publications/i/item/9789241504836
https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/100365/