
อาการปวดประจำเดือน
(Dysmenorrhea)
เป็นกลไกหนึ่งของร่างกาย เกิดจากสารที่ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin)
ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวและหดเกร็งจนทำให้มีอาการปวดท้องและอาจลามไปที่เอวด้านหลัง ซึ่งอาการปวดประจำเดือน
มักมีอาการปวดท้องก่อนมีประจำเดือน 1-2 วัน และระหว่างมีประจำเดือนในช่วงวันแรก ๆ
โดยความรุนแรงของอาการปวดจะแตกต่างกันในแต่ละคน
บางคนมีอาการปวดรุนแรงมากจนกระทบกับการดำรงชีวิต โดยแนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจสอบหาสาเหตุของอาการปวด
ในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีการดูแลตัวเองสำหรับคนที่มีอาการปวดประจำเดือน
ซึ่งสามารถปฏิบัติตามง่าย ๆ ดังนี้
2.
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน
3.
เลิกสูบบุหรี่
และเลิกดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
4.
ประคบร้อนบริเวณที่ปวด
5.
ดื่มน้ำขิงอุ่น ๆ
6. บรรเทาอาการปวดด้วยการกินยา
โดยยาที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน
ได้แก่
1.
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol)
เหมาะกับอาการปวดที่ไม่รุนแรง ผู้ที่เป็นโรคตับ/ไต
ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา
2.
ยากลุ่ม NSAIDs เช่น ไอบูโปรเฟน (Ibuprofen) หรือเมเฟนามิคแอซิด ( Mefenamic Acid)
เหมาะกับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรง
ควรกินหลังอาหารทันที ไม่ควรกินตอนท้องว่างและไม่ใช้กับผู้ที่มีภาวะเลือดออก หรือมีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด
โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
3.
ยากลุ่มฮอร์โมนคุมกำเนิด
การใช้ฮอร์โมนเป็นการรักษาเฉพาะบุคคลจึงต้องใช้ในความดูแลของแพทย์
การใช้ยาควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้
ข้อมูลอ้างอิง
วิธีแก้ปวดประจำเดือนด้วยยา และน้ำอุ่น
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) บรรเทาอาการปวดประจำเดือน