สิ่งที่ขาดไม่ได้เวลาออกไปท่องเที่ยวก็คือการได้ลิ้มรสอาหารจานเด็ดหรืออาหารประจำท้องถิ่นนั้น
ๆ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าอาหารนั้นสะอาดและไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค
ซึ่งจะทำให้เกิดอาการท้องเสียและหมดสนุกกับการเดินทางได้
ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือพยาธิ ในระบบทางเดินอาหาร
ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ ตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปภายใน
24 ชม. โดยทั่วไปอาการท้องเสียมักเกิดขึ้นและอาจหายไปได้เองภายใน 2 - 3 วัน ในกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำจนอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ตัวอย่างยาที่นิยมใช้สำหรับรักษาอาการท้องเสีย
1.
ยาผงเกลือแร่
(ORS: Oral
Rehydration Salt) เพื่อทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ของร่างกาย
จากการท้องเสีย
หรืออาเจียน
คำแนะนำการใช้ยา
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและไต
- ไม่ควรดื่มเกลือแร่สำหรับผู้ออกกำลังกายเพื่อรักษาอาการท้องเสีย เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้นจากส่วนประกอบที่มีน้ำตาลและแร่ธาตุบางชนิดที่สูงกว่า
- ควรผสมผงเกลือแร่ ORS กับน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว
- ผงเกลือแร่ ORS ที่ผสมน้ำแล้วควรใช้ภายใน 24 ชั่วโมง หากดื่มไม่หมดให้ทิ้ง
- ค่อย ๆ จิบ ไม่ดื่มจนหมดในคราวเดียว เพราะอาจทำให้ลำไส้แปรปรวนและท้องเสียมากขึ้น
2.
ยาถ่านคาร์บอน
(Activated
Charcoal) ที่จะเข้าไปช่วยดูดซับสารพิษและเชื้อโรคในลำไส้ก่อนจะขับออกมาพร้อมอุจจาระ
คำแนะนำการใช้ยา
- ห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะลำไส้อุดตัน หรือมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
- ไม่สามารถใช้เป็นยาหยุดถ่ายได้ เนื่องจากยาไม่ได้มีผลฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
- กินยานี้ห่างจากยาอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- ยาอาจทำให้อุจจาระสีดำได้
3.
ยาโลเพอราไมด์
(Loperamide) ใช้รักษาท้องเสียชนิดเฉียบพลันในระยะสั้นและรักษาท้องเสียในผู้ที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน
คำแนะนำการใช้ยา
- ห้ามกินยานี้ในกรณีที่ถ่ายเป็นมูกเลือดและมีไข้สูง
- ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนกินยานี้
- ห้ามกินเกิน 6 เม็ดต่อวัน และห้ามกินติดต่อกันเกิน 2 วัน
4.
ยาปฏิชีวนะ
เช่น ยานอร์ฟล็อกซาซิน (Norfloxacin)
ยาซิโพรฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin) เป็นต้น
ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียของลำไส้ใหญ่
ไม่ควรซื้อยาปฏิชีวนะมารับประทานเอง
คำแนะนำการใช้ยา
- ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น ไม่ควรซื้อยามากินเองเด็ดขาด
- ต้องกินให้ครบตามกำหนด ถึงแม้ว่าอาการป่วยจะดีขึ้นแล้วก็ยังคงต้องกินต่อเนื่อง
หากมีอาการท้องเสียรุนแรง เช่น
อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติคล้ายกุ้งเน่า คลื่นไส้ อาเจียนรุนแรง มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลียมาก หรือมีอาการนานกว่า 48 ชั่วโมง
และผู้ที่มี
โรคประจำตัว
รวมทั้งเด็กอายุต่ำกว่า 3
ปี และผู้สูงอายุ
ต้องรีบมาพบแพทย์ทันที ไม่ควรรักษาเอง
เพราะอาการอาจรุนแรงเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
ข้อมูลอ้างอิง
ท้องร่วง ท้องเสีย ดูแลตัวเองอย่างไร (คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ดูแลเบื้องต้นเมื่อท้องเสีย (คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล)
ท้องเสีย ซ่อมได้ ไม่ยาก (คณะเภสัชศาสตร์
ท้องเสีย จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่ (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)