ขณะตั้งครรภ์คุณแม่ทุกท่านจะรับประทานยาตัวใดเพื่อรักษาอาการก็มักจะกังวลว่ายาตัวนี้จะมีผลต่อลูกในครรภ์ไหมนะ
ยาตัวไหนบ้างนะที่คุณหมอเคยห้าม เป็นไข้ปวดหัว ไอ มีเสมหะ
กินยาฆ่าเชื้อได้ไหมจะอันตรายต่อลูกรึเปล่า คำถามเหล่านี้คงวนเวียนซ้ำ ๆ
บางท่านถึงกับเลือกที่จะอดทน ไม่รับประทานยาใดเลยเพราะกลัวว่าจะไปกระทบต่อลูกน้อย
หากอาการค่อย ๆ ดีขึ้นก็โล่งใจ
แต่หากเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นเมื่อไหร่กว่าคุณแม่จะได้รับประทานยาที่ถูกต้อง
บางทีอาการป่วยก็ทวีความรุนแรงจนอาจจะส่งผลเสียต่อทั้งคุณแม่และคุณลูกไปแล้ว
เรามาดูกันเถอะว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยทั้งกับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์
1. อาการปวดหัวไมเกรน
หากมีอาการปวดไมเกรน ควรแจ้งแพทย์
ยาที่สามารถใช้ได้ : ยาพาราเซตามอล
- รับประทานครั้งละ
1-2 เม็ด ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง (ขึ้นกับน้ำหนักตัว และขนาดยา)
- ห้ามรับประทานเกิ
- หาก
ที่สำคัญห้ามใช้
ยาแก้ปวดไมเกรนเออร์โกทามีน (Ergotamine) เด็ดขาด
!!! เพราะทำให้ลูกน้ำหนักตัวน้อย
และมดลูกบีบตัวเกิดการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
2. อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ยาที่สามารถใช้ได้ : วิตามินบี6 (Pyridoxine) ยาขิง
3. อาการคัดจมูก
วิธีที่ควรเลือกใช้ : สามารถใช้น้ำเกลืออุ่น ๆ พ่น/ล้างจมูก
เพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้นได้
4. อาการท้องผูก
ยาที่สามารถใช้ได้
:
ยาระบายชนิดเพิ่มปริมาณอุจจาระ (bulk-forming
laxatives) เป็นยาที่ใช้ในหญิงมีครรภ์ได้ เช่น
ไฟเบอร์จากเมล็ดเทียนเกล็ดหอย (psyllium husk), เมทิลเซลลูโลส
(methylcellulose)
- ยาใน
- รับประทานยาหลังผสมทันที
- รับประทานห่างจากยาอื่นอย่างน้อย
2 ชั่วโมง
- ควรดื่มน้ำมากๆ
และบริโภคอาหารที่มีกากใยให้เพียงพอ
- การใช้ยาระบายเป็นการบรรเทาอาการท้องผูกชั่วคราวเท่านั้น
5. อาการท้องเสีย
ยาที่สามารถใช้ได้
:
ยาผงเกลือแร่ ORS
6. ยาขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ
ยาที่สามารถใช้ได้ : ยาไซเมทิโคน
(Simethicone)
นอกจากนี้ยังมียาอื่น ๆ
ที่ควรระมัดระวังในการรับประทาน เช่น ยาที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
เพราะแอลกอฮอล์มีผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกโดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์สามเดือนแรก
อาจทำให้ทารกมีภาวะพิการทางสมองหรือปัญญาอ่อนได้
ดังนั้นหากมีอาการเจ็บป่วยขณะตั้งครรภ์ควรรีบไปพบแพทย์
เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและการรักษาที่ถูกต้อง
โดยแพทย์จะพิจารณาการรักษาและยาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล ไม่ควรซื้อยากินเอง
หรือแม้แต่ยาบางชนิดที่เคยรับประทานเป็นประจำหรือยารักษาโรคประจำตัวก็อาจจะเป็นยาที่อันตรายร้ายแรงต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
ควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบว่าตั้งครรภ์อยู่ก่อนใช้ยา
#ยา #ท้อง #ตั้งครรภ์
ข้อมูลอ้างอิง
2. กรดไหลย้อนในหญิงตั้งครรภ์-ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแพทย์. (n.d.)
7.เกร็ดความรู้ของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา| คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. (n.d.). Retrieved December 27, 2023, from
9.What medicine can Itake for allergies while I’m pregnant? (2021). Retrieved December 27, 2023,from
11.Black, R. A., & Hill, D. A. (2003). Over-the-countermedications in pregnancy.
13.การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร. (n.d.). RetrievedDecember 28, 2023, from