การประคบร้อนเย็น แตกต่างกันยังไงนะ ?
12 ธันวาคม 2567

อาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทั้งจากการได้รับบาดเจ็บระหว่างการเล่นกีฬา การเดินทาง การวิ่ง อุบัติเหตุจากการหกล้ม การกระแทก การฟกช้ำของส่วนต่าง ๆตามร่างกาย และอาการเคล็ดขัดยอก รวมถึงอาการปวดอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ ไข้สูง โดยวิธีหนึ่งที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวด รวมถึงช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ “การประคบ” ซึ่งเป็นวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การประคบเย็นและการประคบร้อน โดยมีข้อควรระวังและความแตกต่างกันดังนี้

1.       การประคบเย็น จะใช้เมื่อเกิดการบาดเจ็บเฉียบพลัน (ภายใน 24-48 ชั่วโมง) อย่างเช่น การวิ่ง  การออกกำลังกาย เท้าพลิก โดยการประคบเย็นจะช่วยลดอาการปวดบวม อักเสบเบื้องต้น โดยจะช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว ทำให้เลือดออกน้อยลง มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวม โดยมีขั้นตอนการประคบดังนี้

      นำถุงเจล แช่ในตู้เย็นหรือน้ำแข็ง จนถุงเจลมีความเย็นตามที่ต้องการ  

      ควรนำถุงเจลสวมปลอกถุงผ้า หรือห่อผ้าขนหนู เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังโดยตรง

      ประคบทันทีที่บริเวณบาดเจ็บภายใน 24-48 ชั่วโมง นานประมาณ 10-15 นาที ไม่ควรใช้เวลานานกว่านี้ หรือวางอยู่ที่เดียวนานเกินไป และเลี่ยงการประคบบริเวณแผลเปิด เนื่องจากเสี่ยงติดเชื้อ

 

2.       การประคบร้อน จะใช้เมื่อมีอาการปวดหรือฟกช้ำ (หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง) ตึงบริเวณคอ บ่า หลัง น่อง โดยจะต้องไม่มีอาการบวม แดง ร้อน การประคบร้อนจะช่วยลดอาการปวดและผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ช่วยให้เส้นเลือดขยายตัว เพิ่มการไหลเวียนของเลือด โดยมีขั้นตอนการประคบดังนี้  

      นำถุงเจลแช่ในน้ำร้อน หรือน้ำที่ต้มเดือดแล้ว จนถุงเจลมีความร้อนตามที่ต้องการ

      ควรนำถุงเจลสวมปลอกถุงผ้า หรือห่อผ้าขนหนู เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังโดยตรง

      ประคบบริเวณที่ปวด หลังจากมีอาการผ่านไปแล้ว 48 ชั่วโมง

      ประคบบริเวณที่ปวด นานประมาณ 15-20 นาที โดยขยับเปลี่ยนบริเวณที่วางบ่อย ๆ

      ควรสวมปลอกถุงผ้า หรือห่อผ้าขนหนู เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังโดยตรง

      เลี่ยงการประคบบริเวณแผลเปิด เนื่องจากเสี่ยงติดเชื้อ

 

#ประคบร้อน #ประคบเย็น #ปวด #เมื่อย #ปฐมพยาบาล #การบาดเจ็บ



ข้อมูลอ้างอิง

https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1994

https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1230

https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category/52-2019-09-26-03-19-57?download=339:2019-09-26-03-53-45

https://www.nurse.kku.ac.th/index.php/download/category/52-2019-09-26-03-19-57?download=338:2019-09-26-03-53-24

https://www.thaihealth.or.th/ทำความเข้าใจ-ประคบร้อน-/

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/ประคบร้อน-ประคบเย็น-ต่าง/

https://webportal.bangkok.go.th/msdbangkok/page/sub/23758/Infographic-สุขภาพ/0/info/354953/ปวดแบบนี้-ประคบเย็น-หรือ-ประคบร้อน

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การรักษา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์
ผลิตภัณฑ์ยา
อย.
สาระความรู้
ประคบร้อน
ประคบเย็น
บรรเทาปวด
แก้ปวดเมื่อย
แก้ปวด
ปวดเมื่อย
บรรเทาอาการปวดเมื่อย
อาการปวดเมื่อย
ปฐมพยาบาล
ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การบาดเจ็บ