โรคเบาหวานในเด็ก
2 พฤษภาคม 2568

เป็นโรคที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมีสาเหตุจากการที่ร่างกายมีการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่เพียงพอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่ดี  เกิดความผิดปกติในการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต หรือเปลี่ยนสารอาหารเป็นน้ำตาล ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานยังส่วนต่าง ๆ ของเซลล์ได้ หลายคนอาจคิดว่าเป็นโรคที่เกิดในผู้ใหญ่เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วโรคนี้ก็สามารถพบในเด็กได้ โดยโรคเบาหวานในเด็กแบ่งเป็น 2 ประเภทที่พบบ่อย ดังนี้ 

เบาหวานชนิดที่ 1

สาเหตุ : เกิดจากการสร้างภูมิต้านทานตนเองมาทำลายเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำให้ตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ เซลล์ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้ ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้น เกิดในเด็กตั้งแต่อายุยังน้อย

อาการสำคัญ : ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก หิวบ่อย กินเก่งแต่น้ำหนักลดลง  เด็กกลุ่มนี้มักมีรูปร่างผอม

การรักษา : ปัจจุบันมีเพียงวิธีเดียว คือ การฉีดยาอินซูลิน ร่วมกับการควบคุมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม


เบาหวานชนิดที่ 2

สาเหตุ :  เกิดจากร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ร่วมกับตับอ่อนบกพร่องในการหลั่งอินซูลินมักเกิดในเด็กวัยรุ่น

การรักษา : ปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำมาก มีรอยปื้นหนาสีดำขรุขระที่คอ รักแร้ หรือข้อพับมักพบในเด็ก และวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วน และมีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน 

การรักษา :  รับประทานยาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด ร่วมกับการควบคุมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสมหากการรักษาดังกล่าวไม่ได้ผลถึงจะพิจารณาให้การรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินเพิ่มเติม


ข้อมูลอ้างอิง

1.      เบาหวานในเด็กเรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ต้องรู้. โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์.(2023). Retrieved August 14, 2024, fromโรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ 

2.      โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.(n.d.). Retrieved August 14, 2024, fromคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

3.      โรคเบาหวานในเด็กและวัยรุ่น. โรงพยาบาลพญาไท. (2020). Retrieved August14, 2024, from โรงพยาบาลพญาไท

4.      ฉีดอินซูลินด้วยตัวเองฉีดอย่างไรให้ถูกวิธี. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล.(2024). Retrieved August 14, 2024, fromคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การรักษา
ผลิตภัณฑ์ยา
ผลิตภัณฑ์อาหาร
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
สาระความรู้
อาหาร
อย.
เบาหวาน
โรคเบาหวาน
เด็กไทย