ใส่บาตรอย่างไร ให้พระสงฆ์ห่างไกลโรค NCDs
2 กรกฎาคม 2568

การทำบุญใส่บาตร เป็นกิจกรรมของชาวพุทธที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยพุทธศาสนิกชนจะจัดเตรียมอาหารพร้อมทาน อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุปิดสนิทพร้อมจำหน่าย อาหารแปรรูป อาหารแห้ง และอาหารอื่น ๆ เพื่อถวายให้แก่พระสงฆ์ที่ออกบิณฑบาต

          อาหารที่พุทธศาสนิกชนนำมาใส่บาตรมักเป็นอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร อาหารกระป๋อง ขนม และเครื่องดื่ม ซึ่งเครื่องดื่มหลายชนิดอาจมีรสหวานและน้ำตาลสูง ทำให้พระสงฆ์มีโอกาสได้รับปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม มากกว่าปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน โดยในแต่ละวันควรรับประทานพลังงานรวมไม่เกิน ๒,๐๐๐ กิโลแคลอรี น้ำตาลไม่เกิน ๒๔ กรัม ผู้ชาย (วัยผู้ใหญ่) ไม่ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวเกิน 30 กรัมต่อวัน ผู้หญิง (วัยผู้ใหญ่) ไม่ควรรับประทานไขมันอิ่มตัวเกิน 20 กรัมต่อวัน และโซเดียมไม่เกิน ๒,๐๐๐ มิลลิกรัม

          สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงขอแนะนำหลักการเลือกผลิตภัณฑ์อาหาร ๔ เลือก ที่จะช่วยให้พุทธศาสนิกชนทำบุญตักบาตรอย่างสบายใจ และพระสงฆ์ยังห่างไกลโรค NCDs เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง และโรคความดันโลหิตสูงด้วย ดังนี้

. เลือกผลิตภัณฑ์อาหารโดยสังเกตที่ฉลากหวาน มัน เค็ม หรือฉลากโภชนาการแบบ GDA (Guideline Daily Amounts)เพื่อใช้ในการช่วยตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณพลังงานน้ำตาล ไขมัน และโซเดียม ไม่มากกว่าปริมาณที่แนะนำให้รับประทานสูงสุดต่อวัน และเพื่อให้พระสงฆ์ได้สามารถทราบปริมาณในการแบ่งบริโภคต่อครั้งอย่างถูกต้อง

 . เลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสัญลักษณ์โภชนาการ ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice) เนื่องจากเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้วว่ามีปริมาณน้ำตาล ไขมัน และโซเดียมที่เหมาะสม ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

 . เลือกที่จะถวายอาหารที่ผ่านกระบวนการตุ๋น ต้ม นึ่ง แทนการทอด และหลีกเลี่ยงอาหาร หวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

. เลือกถวายน้ำเปล่า หรือเครื่องดื่มที่หวานน้อย แทนการถวายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง

 

#FDANCDs #ตักบาตร #ฉลากGDA #สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การเลือกซื้อ
ฉลากหวานมันเค็ม
ตรวจเลข
ฉลาก
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผลิตภัณฑ์อาหาร
อย.
สาระความรู้
อาหาร
ฉลากGDA
สัญลักษณ์ทางเลือกสุขภาพ
โรค NCDs