วันที่ 13 มิถุนายน 2567 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,พล.ต.ต.ณัฐศักดิ์ เชาวนาศัย, พล.ต.ต.วิวัฒน์ ชัยสังฆะ, พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก, เจ้าหน้าที่ตำรวจบก.ปคบ. โดยการสั่งการของ พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ, พ.ต.อ.ชัฏฐ นากแก้ว, พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.ปคบ., พ.ต.อ.วีระพงษ์ คล้ายทอง ผกก.4 บก.ปคบ., สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา และ ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดปฏิบัติการทลายเครือข่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพิชาร์และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคุณนุช ตรวจค้น 6 จุด ในพื้นที่ 5 จังหวัด จับกุมผู้ต้องหา 2 ราย ตรวจยึดของกลาง 72 รายการ มูลค่ากว่า 16 ล้านบาทพฤติการณ์กล่าวคือ สืบเนื่องจากปัจจุบันมีกระแสการลักลอบนำวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน)ผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับลดน้ำหนักในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปแบบแคปซูลและเครื่องดื่มพร้อมชงต่าง ๆ โดยหวังให้ปรากฏผลหลังรับประทานอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเมื่อรับประทานแล้วทำให้เสียเงินโดยไม่จำเป็น และหากหยุดรับประทานอาจจะก่อให้เกิดภาวะ โยโย่เอฟเฟกต์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักขึ้นลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ในกรณีผู้มีโรคประจำตัวอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ อย. จึงมีการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมาโดยตลอดจึงเป็นที่มาของการระดมกวาดล้างเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วน 2 ยี่ห้อ ดังนี้
1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วนยี่ห้อพิชาร์ (Pichar)
สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. พบว่ามีการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดความอ้วนยี่ห้อพิชาร์ Pichar Dietary Supplement Product เลขสารบบอาหาร 76-1-17557-5-0322 ผลิตโดย โรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ จ.เพชรบุรี จัดจำหน่ายโดย พิชาร์ ไทยแลนด์ ผ่านแฟลตฟอร์ม Shopee, Lazada, TikTok และ Facebook เป็นจำนวนมาก มีการโฆษณาชวนเชื่อว่า เมื่อรับประทานแล้ว ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาสั้น ๆ และมีเครือข่ายตัวแทนผู้จำหน่ายกระจายอยู่ทั่วประเทศ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ส่งตรวจวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน) ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ จึงได้สืบสวนจนทราบแหล่งผลิต เจ้าของแบรนด์ แหล่งจัดจำหน่าย และตัวแทนรายใหญ่พนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. ได้รวบรวมพยานหลักฐานขอศาลอนุมัติหมายจับกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวในข้อหา “ร่วมกันจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า”
ต่อมาเมื่อวันที่
5 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่วมกันนำหมายค้น
เข้าทำการตรวจค้นและจับกุม สถานที่ผลิต ผู้จัดจำหน่าย(เจ้าของผลิตภัณฑ์)
และเครือข่ายตัวแทนผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ ในพื้นที่ จ.สิงห์บุรี, จ.ปทุมธานี, จ.เพชรบุรี จำนวน 3 จุด ดังนี้
1.1. บ้านพักอาศัยของ
ผู้จัดจำหน่าย (เจ้าของผลิตภัณฑ์) พื้นที่ ต.บางมัญ อ.เมืองสิงห์บุรี จ.สิงห์บุรี
จับกุม น.ส.เพ็ญพิชญา (สงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี ผู้ต้องหาตามหมายจับ ในความผิดฐาน “ร่วมกันจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน)
โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า” พร้อมตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพิชาร์
อุปกรณ์ในการจัดส่ง และหลักฐานในการว่าจ้างผลิต ส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.
1.2.
ผู้จัดจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ ในพื้นที่ ต.คลองพระอุดม อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี
ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อพิชาร์ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้ออื่น ๆ
เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
1.3.
โรงงานผู้ผลิต ในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ผลการตรวจค้น
ตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพิชาร์
เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์หาสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
จากการสอบถ้อยคำของ
น.ส.เพ็ญพิชญาฯ ในชั้นจับกุมและชั้นสืบสวน รับว่า
ตนเองเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ พิชาร์ จริง การผลิตได้สั่งผลิตผ่าน
น.ส.ขวัญพัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 37 ปี โดยเริ่มสั่งผลิตครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคม 2566 จนถึงปัจจุบัน มีการสั่งผลิตสินค้ารวม 6 ครั้ง
โดยมี ยอดรับสินค้ามาแล้ว 36,000 กล่อง ซึ่ง นางสาว ขวัญพัฒน์ (สงวนนามสกุล)
ส่งให้ในราคากล่องละ 115 บาท จากนั้นตนเองนำสินค้าออกจำหน่ายในราคากล่องละ 350 บาท
โดยจำหน่ายด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์
และส่งให้ตัวแทนรายใหญ่นำออกจำหน่ายให้กับตัวแทนรายย่อยและประชาชน
โดยตัวแทนรายใหญ่มีกระจายอยู่หลายจังหวัดทั่วประเทศ เช่น กรุงเทพมหานคร, ปทุมธานี,
ชลบุรี, ฉะเชิงเทรา, กาญจนบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท,นครราชสีมา, นครพนม, นครสวรรค์
และน่าน เป็นต้น
โดยพนักงานสอบสวนจึงได้รวบรวมพยานหลักฐานขออนุมัติหมายจับ นางสาว ขวัญพัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 37 ปี ในความผิดฐาน “ร่วมกันจำหน่ายและมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1 (ไซบูทรามีน)โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า”ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ร่วมกันนำหมายค้นของศาลจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เข้าตรวจค้น บริษัท ตัวกลางที่สั่งผลิตผลิตภัณฑ์ พื้นที่ ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา จับกุม น.ส.ขวัญพัฒน์ฯ กรรมการบริษัท ผู้ต้องหาตามหมายจับ โดยขณะตรวจค้นสถานที่ดังกล่าวพบว่า มีการลักลอบผลิตและแบ่งบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารโดยมีพนักงานจำนวนมาก โดยจากการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าว
ไม่มีใบอนุญาตผลิตอาหารแต่อย่างใด ตรวจยึดของกลาง
1.
เครื่องจักรที่ใช้ผลิต
อาทิเช่น เครื่องบรรจุแคปซูลอัดลงแผง เครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์ ฯลฯ
2.
ขวด
บรรจุภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ผลิต
3.
แคปซุลที่ยังไม่บรรจุลงแผง/ขวด จำนวน
553,600 แคปซูล
4.
แคปซูลบรรจุลงแผง จำนวน
2,730 แผง
5.
ผงบรรจุลงซอง จำนวน 456 ซอง
6.
โดยพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบรรจุเสร็จพร้อมจำหน่าย
ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Fercy
Plus จำนวน 10,250 กล่อง, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Black Pepper จำนวน 1,260 กล่อง, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Coffee Max Burn(สีดำ) จำนวน 1,890 ซอง, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Coffee Max Burn(สีขาว) จำนวน 900 ซอง
โดยในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Fercy
Plus ที่ตรวจพบนั้น ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมกรมสอบสวนคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติไต้หวัน ได้มีการตรวจยึดและพบว่ามีผู้ลักลอบนำเข้ายาลดน้ำหนักมาจากประเทศไทย
ซึ่งผลตรวจวิเคราะห์พบสารไซบูทรามีนและได้จับกุมผู้ต้องหาทั้งสิ้น 4 รายโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ได้ร่วมกันสืบสวนหาแหล่งผลิตและจัดจำหน่ายเรื่อยมา
จนกระทั่งพบผลิตภัณฑ์ในสถานที่ดังกล่าว
ในชั้นสอบสวน
นางสาว ขวัญพัฒน์ฯ กล่าวอ้างว่า ตนเองเป็นเซล (ตัวแทนบริษัท)
รับติดต่อจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อ และหลายโรงงาน สำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพิชาร์
รับว่าได้รับการติดต่อจาก นางสาว เพ็ญพิชญาฯ ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจริง
จากนั้นได้ติดต่อไปที่ โรงงานแห่งหนึ่งใน จ.เพชรบุรี ให้ผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
ตั้งแต่เดือน มกราคม 2566 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จำนวนที่สั่งผลิตทั้งหมดจำไม่ได้
โดยโรงงานคิดราคากล่องละ 80-85 บาท จากนั้นตนเองส่งขายต่อให้ น.ส.เพ็ญพิชญาฯ
ในราคากล่องละ 115 - 130 บาท แล้วแต่ยอดจำนวนที่สั่งผลิต
อนึ่ง
เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการสืบสวนเพิ่มเติม หาความเชื่อมโยงถึงเครือข่ายผู้ผลิต
และผู้จำหน่ายรายอื่น ๆ ทั้งผู้จำหน่ายรายใหญ่ และรายย่อย
หากพบการกระทำผิดจะได้ดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดต่อไป และจะส่งผลิตภัณฑ์ที่ตรวจยึดไปตรวจวิเคราะห์หาสารที่เป็นอันตรายกับผู้บริโภค ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขต่อไป
2.
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ คุณนุช (NUCH) สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4
บก.ปคบ.มีมาตรการในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มที่อ้างว่ารับประทานแล้วช่วยควบคุมความหิว
อิ่มนาน และช่วยลดน้ำหนัก โดยพบว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยี่ห้อ คุณนุช
เลขสารบบอาหาร 76-1-17557-5-0330 ผลิตที่โรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่
จ.เพชรบุรี โดยมีการจำหน่ายอย่างแพร่หลาย
เมื่อทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ผ่าน เพจเฟซบุ๊ก “แบรนด์ คุณนุช”
มีผู้ติดตามกว่า 1.6 หมื่นราย และเพจ
“Bmee
healthy Thailand” ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 1.6 แสนราย
เมื่อตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายพบว่า
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวมีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง เนื่องจากไม่ระบุส่วนประกอบผลิตภัณฑ์เป็นภาษาไทย
เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงทำการสืบสวนจนทราบ
สถานที่จัดเก็บผลิตภัณฑ์ โดยในวันที่ 7 มิถุนายน 2567 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4
บก.ปคบ. ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เข้าตรวจค้นสถานที่ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จ.นนทบุรี จำนวน 2 จุด ดังนี้
2.1.
สถานที่ไลฟ์สด เพจเฟซบุ๊ก “Bmee healthy Thailand และ แบรนด์ คุณนุช” ในพื้นที่ ต.บางเลน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี โดย
ตรวจยึดตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ทำการไลฟ์สดขายและกล่องบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 รายการ
2.2.
บริษัทผู้จัดจำหน่าย และสถานที่จัดเก็บผลิตภัณฑ์ พื้นที่ ต.บ้านกร่าง
อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี
โดยจากการตรวจค้นทั้ง
2 จุด เจ้าหน้าที่ได้ทดสอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจพบด้วยชุดตรวจ
ไซบูทรามีน ผลการทดสอบเบื้องต้นปรากฏผลเป็นบวก จำนวน 2 รายการ
และพบผลิตภัณฑ์อื่นที่เป็นความผิด ดังนี้
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยี่ห้อ คุณนุช (ต้องสงสัยว่าผสมไซบูทรามีน)
- ผลิตภัณฑ์โกโก้ปรุงสำเร็จชนิดผง
ยี่ห้อ CHALLEE จำนวน 15,930 ชิ้น
(ต้องสงสัยว่าผสม
ไซบูทรามีน)
- ผลิตภัณฑ์กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ยี่ห้อ CHALLEE จำนวน 9,360 ชิ้น โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวผลิตหลังจากวันยกเลิกสถานะ จึงถือว่าเป็นอาหารปลอม
- ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางอื่นๆ ที่เป็นความผิด จำนวน 3,482 ชิ้น
จากการสืบสวนขยายผล พบว่ากลุ่มผู้กระทำความผิดมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 ปี โดยตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 - ปัจจุบัน มียอดขายโดยเฉลี่ยวันละ 500-1,200 ออเดอร์รวมทลาย 2 เครือข่าย ตรวจค้น 6 จุด จับกุมผู้ต้องหา 2 ราย ได้แก่ น.ส.เพ็ญพิชญา (สงวนนามสกุล) อายุ 26 ปี และ น.ส.ขวัญพัฒน์ (สงวนนามสกุล) อายุ 37 ปี ในความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ฐาน “จำหน่ายซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ประเภท 1(ไซบูทรามีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการกระทำเพื่อการค้า” ตรวจยึดของกลางรวม 72 รายการ มูลค่ากว่า 16,261,000 บาทจากการสืบสวนและเชื่อมโยงข้อมูลพบว่า เครือข่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ตรวจพบไซบูทรามีนยี่ห้อพิชาร์, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยี่ห้อ คุณนุช และผลิตภัณฑ์ โกโก้ปรุงสำเร็จชนิดผง ยี่ห้อ CHALLEE นั้นมีความเกี่ยวโยงโดยมีแหล่งผลิต ในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งจะได้ดำเนินการขยายผลถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ ต่อไป
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทั้งหมดที่เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจยึด จะต้องส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อยืนยันอีกครั้ง หากตรวจพบสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเพิ่มเติมต่อไป
เบื้องต้นการกระทำดังกล่าวเป็นความผิด
ดังนี้
1. ประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ.2564 ฐาน “จำหน่าย และมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 (ไซบูทรามีน) โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยกระทำเพื่อการค้า” โทษตามมาตรา
149 วรรคสอง (1) ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึง
10 ปี และปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท
2. กรณีสถานที่ผลิตที่ไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ. อาหาร พ.ศ. 2522ฐาน “ผลิต และแสดงฉลากไม่ถูกต้อง” ระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
3. กรณีพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีส่วนผสมของยาแผนปัจจุบัน
หรือมีการผสมสารต้องห้ามในผลิตภัณฑ์ จะเป็นความผิดฐาน “จำหน่ายอาหารที่ไม่บริสุทธิ์” ตาม พ.ร.บ. อาหาร
พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) โทษตามมาตรา 58 ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เภสัชกรวีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปฏิบัติการในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอขอบคุณตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ที่สืบสวน ขยายผล จนสามารถตรวจยึดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ผิดกฎหมายได้จำนวนมากโดยการปฏิบัติการในครั้งนี้ อย. ได้เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกลุ่มที่อวดอ้างสรรพคุณลดน้ำหนักเป็นกรณีพิเศษ โดยร่วมกับตำรวจ บก. ปคบ.เฝ้าระวัง และแจ้งข่าวเตือนประชาชนให้ทราบข้อมูลอยู่เสมอเพื่อมิให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อ จึงได้ขยายผลสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำผิดจนมีการจับกุมดำเนินคดีผู้ลักลอบ ผู้จำหน่ายที่กระทำผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่อง ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง เช่น ทานแล้วลดน้ำหนักเห็นผลไว เห็นผลจริง ปลอดภัย การันตี ไม่มีผลข้างเคียง เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างใช้ลดน้ำหนักเหล่านี้มักพบว่า มีส่วนผสมของไซบูทรามีนหรือยาแผนปัจจุบัน ผลที่ได้อาจไม่คุ้มเสีย เพราะนอกจากจะเสียเงินแล้วยังเสียสุขภาพจากผลข้างเคียงของยาและอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขอย้ำเตือนประชาชนว่าการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางสื่อออนไลน์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงมารับประทานเพื่อหวังผลตามกล่าวอ้างเสี่ยงอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และ อย.ไม่อนุญาตการโฆษณาที่อวดอ้าง เป็นเท็จ หลอกลวงและเกินจริง หากพบจะดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำการโฆษณาเกินจริงทุกกรณี
ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ได้รับอนุญาตจาก
อย. ได้ที่ www.fda.moph.go.th
และ Line@FDAThai หากพบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยหรือไม่ได้รับอนุญาต
สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือผ่าน Email: 1556@fda.moph.go.th
Line@FDAThai, Facebook: FDAThai หรือ ตู้ปณ.1556
ปณฝ.กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ. ปฏิบัติการดังกล่าวเป็นผลจากการเฝ้าระวังกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับลดน้ำหนัก
โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจมีมาตการเชิงรุกเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสุขภาพของผู้บริโภควร
และขอฝากความห่วงใยมายังประชาชนควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ควรใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาในผลการลดน้ำหนักที่รวดเร็ว
เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการหลงซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีไซบูทรามีนหรือสารต้องห้ามอื่นๆ
ผสมอยู่มาบริโภค จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
เพราะสุขภาพที่ดีต้องประกอบด้วยการรับประทานอาหารและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
และขอเน้นย้ำว่าไซบูทรามีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภท
1 ผู้ที่ลักลอบนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะต้องรับโทษตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
พ.ศ.2564 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการจับกุมอย่างต่อเนื่อง
หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด
สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา