บวร.ร. Activities เยี่ยมเสริมพลัง จังหวัดแพร่
29 เมษายน 2568

004.jpg

ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยเครือข่าย บวร.ร. ณ จังหวัดแพร่ ในวันที่ 4 เมษายน 2568

 4 เมษายน 2568 กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา น้ำที่มโดย นางสาวจุไรรัตน์ ถนอมกิจ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาเครือข่ายและวิชาการ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงานพัฒนาชุมชนรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยเครือข่าย บวร.ร. จังหวัดแพร่ โดยมีนายรุ่งกิจ ปินใจ นายแพทย์เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร้องกวาง เจ้าหน้าที่กลุ่มงานคุ้มครอง ผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ สาธารณสุขอำเภอร้องกวาง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ยางฮ่อ พระครูวิทิตธรรมวิมลเจ้าคณะอำเภอร้องกวาง คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) เครือข่ายบวร.ร. ให้การต้อนรับ พร้อมทั้งนำเสนอการดำเนินงานชุมชนรอบรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ด้วยเครือข่าย บวร.ร. จากนั้นรับชมการแสดงจากคณะอังกะลุง "แม่ยางฮ่อ ฉลาดเลือก ลดหวาน มัน เค็ม"

จังหวัดแพร่เริ่มดำเนินงาน บวร.ร. ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2567 ในชุมชนต้าผามอก อำเภอลองและในปี พ.ศ. 2568 จังหวัดแพร่ได้ขยายดำเนินงาน ในชุมชนตำบลแม่ยางฮ่อ อำเภอร้องกวาง มุ่นเน้นการดำเนินงาน ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีการใช้โปรแกรมหอมแดง และ โปรแกรม G-RDU & G-HSP MOPH ในการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนในร้านค้าร้านชำจำนวน 20 แห่ง ดำเนินกิจกรรมครอบคลุมภาคีเครือข่ายทั้งบ้าน วัด โรงเรียน และโรงพยาบาลเกิด

"วัดต้นแบบ" "โรงเรียนต้นแบบ" "ครอบครัวต้นแบบ" ลดหวาน มัน เค็ม นับคาร์บ สร้างสุขภาพดีห่างไกล NCDs ด้วยวิถี บวร.ร."จัดเวที แลกเปลี่ยน เรียนรู้" ปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชนรวมทั้งนวัตกรรม "เพลงแม่ยางฮ่อ ลดหวาน มัน เค็ม" เป็นสื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในชุมชน นำแสดงโดยคณะอังกะลุง กลุ่มผู้สูงอายุแม่ยางฮ่อ นอกจากนั้น มีกิจกรรมการแข่งขันศิลปะหัตถกรรมนักเรียน "น้ำพริกหนุ่ม รสชาติแห่งมิตรภาพ" สร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียน อย. น้อย จังหวัดแพร่ดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็ง คนในชุมชนมีส่วนร่วม พร้อมต่อยอดขยายผลการดำเนินงาน เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนเกิดพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เหมาะสม ปลอดภัย ลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)