รับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เสี่ยงเกิดผลข้างเคียง จริงหรือ ?
27 มกราคม 2564

           มักมีคำถามสอบถามกันมาบ่อยๆว่า การรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดอันตรายจริงหรือไม่? คำตอบคือ ไม่ใช่ยาทุกชนิดที่จะเกิดผลข้างเคียงเมื่อรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่มียาบางกลุ่มที่หากรับประทานร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะเกิดผลข้างเคียงได้ เพราะ “ยา” ก็เหมือนกับเหรียญที่มีสองด้าน หมายความว่า ยามีทั้งสรรพคุณที่ช่วยรักษาอาการเจ็บป่วยให้ดีขึ้น แต่ก็มีผลข้างเคียงที่เกิดจากยาเช่นกัน ดังนั้น การรับประทานยาพร้อมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เสี่ยงผลข้างเคียงจึงเป็น... เรื่องจริง 

          สำหรับตัวอย่างยาที่อาจเกิดผลข้างเคียงเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ เช่น

  1. กลุ่มยาแก้แพ้ (Antihistamine) เช่น Chlorpheniramine  Dimenhydrinate  Brompheniramine Hydroxyxine มีผลข้างเคียงทำให้ ง่วงซึม หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ จะยิ่งทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงมากขึ้น จนอาจเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  1. ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (Antibiotic) เช่น Metronidazole Tinidazole 
  2. ยาลดน้ำตาลในเลือด (Sulfonylureas) เช่น Glipizide Glyburide

         โดยกลุ่มที่ 2 และ 3 หากรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์ จะเกิดอาการดังนี้

  • หน้าแดง 
  • ปวดหัว เวียนหัว 
  • อาเจียน
  • หายใจติดขัด
  • วิตกกังวล สับสน มึนงง

4. ยาที่มีผลเสียต่อตับ เช่น การกินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยารักษาวัณโรคร่วมกับแอลกอฮอล์เป็นเวลานานจะเสี่ยงต่อการเกิดพิษต่อตับ

            นอกจากนี้ยังมียาอีกหลายกลุ่มที่ไม่ควรกินร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น กลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อยานอนหลับ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยควรใช้ยาอย่างระมัดระวัง และควรใช้ตามคำแนะนำของแพทย์และเภสัชกรอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญ ควรรับประทานยาร่วมกับน้ำดื่มสะอาด และควรงดการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการรักษาด้วยยา เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลข้างเคียง 

สนับสนุนโดย : กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ยา
เช็กชัวร์แชร์
สุขภาพ
รักษาโรค
ฉลาดกิน
แอลกอฮอลล์
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
การกินยา
กินยา
กินยาไม่ถูกวิธี