เลือกใช้อุปกรณ์วัดไข้ให้เหมาะสม เมื่อลูกน้อยไม่สบาย
23 กุมภาพันธ์. 2560

 

                ภาวะไข้ เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก ถ้าไม่ได้รับการดูแลเบื้องต้นอย่างถูกวิธี อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ โดย “ภาวะไข้” หมายถึง ภาวะที่เด็กมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.6 องศาเซลเซียส ขึ้นไป โดยอายุของผู้ถูกวัดและบริเวณร่างกายที่วัดจะมีอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ทำให้มีการใช้อุปกรณ์วัดไข้ในเด็กที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสม

การวัดไข้ในเด็กสามารถทำได้ไม่ยาก แต่ผู้วัดจำเป็นต้องอ่านคู่มือการใช้งานก่อนเพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามขั้นตอนได้อย่างถูกต้อง

โดยอุปกรณ์และช่องทางสำหรับการวัดอุณหภูมิหรือวัดไข้ในเด็ก มีหลากหลายอุปกรณ์และวิธี ดังนี้

  1. เทอร์โมมิเตอร์แบบปรอท นิยมใช้วัดทางปาก ทวารหนัก หรือใต้รักแร้ เป็นต้น
  2. เทอร์โมมิเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ นิยมใช้วัดทางปาก ทวารหนัก ใต้รักแร้ หรือใต้รักแร้ เป็นต้น
  3. แถบวัดไข้ ใช้ นิยมใช้วัดทางหน้าผาก

โดยแต่ละวิธีจะมีการเลือกใช้แตกต่างกันในแต่ละช่วงวัย ดังนี้

-  การวัดทางปาก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป

- การวัดทางทวารหนัก เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 4 ขวบ

- การวัดใต้รักแร้ เหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่แรกเกิด

- การวัดทางรูหู เหมาะสำหรับเด็ก 3 ขวบขึ้นไป

- การวัดทางหน้าผาก เหมาะสำหรับเด็กทุกวัย

ทั้งนี้ มีข้อควรระวังสำหรับเทอร์โมมิเตอร์แบบปรอทที่มักจะทำด้วยวัสดุแก้วปรอท ต้องระมัดระวังในระหว่างการใช้ อย่าให้เกิดการแตกเพราะจะเกิดการบาดเจ็บและพิษจากปรอทได้

เมื่อเด็กมีไข้ ควรได้รับการดูแลเบื้องต้นโดยการลดอุณหภูมิร่างกายลง เพื่อป้องกันอาการชัก ยกตัวอย่าง เช่น สวมเสื้อผ้าให้บางลง เช็ดตัวด้วยน้ำธรรมดาที่ไม่เย็นหรืออุ่น เป็นต้น แต่หากไข้ยังไม่ลดลงหลัง 30 นาที ควรพาไปพบแพทย์        

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
ยา
สุขภาพ
รักษาโรค
อย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ภาวะไข้
เด็ก
อุปกรณ์วัดไข้
เทอร์โมมิเตอร์
ทวารหนัก
รักแร้