กินอย่างไร ห่างไกล “คอเลสอเตอรอล”
17 พฤษภาคม 2560

จากกรณีที่มีส่งต่อข้อมูลทางสื่อออนไลน์ที่อ้างถึงบทความว่า คอเลสเตอรอลไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อร่างกาย และไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจและสมอง แถมยังมีประโยชน์มากมายอีกด้วยนั้น

ไม่เป็นความจริง!! เพราะ...

คอเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย พบอยู่ในเซลล์สัตว์เท่านั้น ได้แก่ ไข่แดง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล  แต่หากมีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะบริโภคอาหารที่มีพลังงานสูงหรือมีส่วนประกอบของคอเลสเตอรอลสูงจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ส่งผลให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูงและมีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ซึ่งปริมาณคอเลสเตอรอลที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes – Thai RDI) คือ 300 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น เพื่อสุขภาพเราจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิต ดังนี้

  1. ควรรับปรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารควรสังเกตเลขสารบบอาหาร 13 หลัก
  3. สังเกตปริมาณคอเลสเตอรอลบนฉลากโภชนาการ ซึ่งควรรับประทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  4. ควรเปลี่ยนวิธีปรุงอาหารเป็นแบบนึ่ง ต้ม อบ แทนการทอดหรือผัด
  5. เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้น
  6. ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล
  7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. พักผ่อนอย่างเพียงพอ

เพียงเท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากคอเลสเตอรอลได้อีกทางหนึ่งด้วย

 

ที่มา :   เอกสารความรู้ ประเด็น : ชี้แจงกรณีการเผยแพร่บทความโคเลสตอรอลมีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษ

วันที่ 22 มีนาคม 2560 โดย สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
อาหาร
สุขภาพ
ฉลาดกิน
อย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา