มารู้จักน้ำมันและไขมันประกอบอาหาร (ตอนที่ 2)
16 พฤศจิกายน 2560

จากที่เราทราบมาแล้วว่าน้ำมันที่เราบริโภคแต่ละประเภท อาจประกอบด้วยกรดไขมันหลายชนิดที่คุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดไขมันอิ่มตัว กรดไขมันไม่อิ่มตัว หรือ กรดไขมันทรานส์  ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้น เราจึงควรเลือกบริโภคน้ำมันให้หลากหลายและเหมาะสม

ผู้บริโภคควรเลือกใช้น้ำมันให้เหมาะสมกับวิธีการปรุงอาหาร ดังนี้

วิธีการประกอบอาหาร ชนิดของน้ำมัน

สลัด/ ผัด น้ำมันมะกอก (Extra virgin Olive oil)

ปรุงอาหาร (ผัด/ทอด) ทั่วไป น้ำมันรำข้าว , น้ำมันถั่วเหลือง , น้ำมันคาโนลา , น้ำมันมะกอก , น้ำมันเมล็ดอัลมอนด์ , น้ำมันงา , 

น้ำมันดอกคำฝอย , น้ำมันเมล็ดฝ้าย , น้ำมันข้าวโพด

ปรุงอาหาร (ผัด/ทอด) ทั่วไป (ไม่แนะนำสำหรับคนที่โคเลสเตอรอลสูง) น้ำมันมะพร้าว

ทอดที่อุณหภูมิสูง น้ำมันปาล์ม

* น้ำมันส่วนใหญ่ควรบริโภคน้อยกว่า 20 กรัม หรือ 5 ช้อนชา ในแต่ละวัน

 

• น้ำมันปาล์ม และน้ำมันหมู มีองค์ประกอบของกรดไขมันอิ่มตัว เหมาะกับการนำไปทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง 

• น้ำมันมะพร้าว มีองค์ประกอบหลักเป็นกรดไขมันที่ถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้ดีและถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ดี จึงส่งผลให้อัตราการเผาผลาญของร่างกายดี 

• น้ำมันมะกอก ถือได้ว่าเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นต่อมนุษย์และสัตว์ ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ เหมาะกับการนำมาปรุงเป็นสลัดและผัด 

• น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ไม่แนะนำให้นำน้ำมันถั่วเหลืองมาใช้ทอดอาหารทุกชนิด เหมาะสำหรับนำมาปรุงอาหารทั่วไป เช่น ผัด 

• น้ำมันรำข้าว เป็นน้ำมันที่มีกรดไขมันที่ดีหลากหลายชนิด และยังมีวิตามินซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสูง เหมาะสำหรับประกอบอาหารที่ใช้ความร้อนไม่สูงมากเกินไป และควรหลีกเลี่ยงการนำไปทอดอาหารแบบน้ำมันท่วมเป็นเวลานาน 

 

 

เอกสารอ้างอิง 

- เอกสารประกอบการชี้แจงกรรมาธิการ ก.ค. 58 

ประเด็น : น้ำมันและไขมันประกอบอาหาร

หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ผู้รับผิดชอบ : ดร.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร 

- http://haamor.com/th/ไขมันอิ่มตัว-ไขมันไม่อิ่มตัว/

- https://th.wikipedia.org/wiki/กรดไขมันอิ่มตัว

- https://th.wikipedia.org/wiki/ไขมันทรานส์

แท็กที่เกี่ยวข้อง
อาหาร
สุขภาพ
ฉลาดกิน
อย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
น้ำมัน
ไขมัน
กรดไขมัน
โรคอ้วน
โรคหัวใจ
วิตามินดี