รู้หรือไม่ ขายยาออนไลน์ผิดกฎหมาย
12 พฤศจิกายน 2561

          ในปัจจุบันสื่อออนไลน์ถูกนำมาใช้ในทางที่ผิดมากมาย หนึ่งในนั้นคือธุรกิจด้านยา ซึ่งมักมีการโฆษณาและขายยาออนไลน์ที่ผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ข้อกำหนดเรื่องการขายนอกสถานที่ที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต เพราะยาไม่ใช่สินค้าทั่วไปจึงต้องได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องจากเภสัชกรหรือแพทย์ ยกเว้นยาสามัญประจำบ้าน เช่น พาราเซตามอล เป็นต้น  การซื้อยาผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นมีความเสี่ยงอันตราย เพราะอาจได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ยาปลอม หรือยาหมดอายุ นอกจากนี้อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยา

ตัวอย่างยาที่มักขายยาทางออนไลน์ซึ่งผิดกฎหมาย

ยาครีมที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์

 

-       อาจทำให้เกิดอาการติดสเตียรอยด์ ผื่นแพ้แดง สิวเห่อและผิวหนังบางลง

ยารักษาสิวชนิดรับประทาน ไอโสเตรติโนอิน (isotretinoin)

 

-       ผลข้างเคียงของยารุนแรง เช่น ผิวหนังแห้งลอก ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อถูกทำลายอย่างรุนแรง ตับวาย การได้ยินบกพร่อง เด็กทารกในครรภ์พิการ เป็นต้น

ยาปฏิชีวนะ

เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) เป็นต้น

 

-       อาจเกิดการแพ้ยารุนแรง มีอาการ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก หายใจติดขัด หรือเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังถึงขึ้นรุนแรง ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

-       หากเลือกยาไม่เหมาะสมหรือใช้ไม่ถูกต้องจะส่งผลให้เชื้อดื้อยาเพิ่มขึ้น

ยารักษาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

ซิลเดนาฟิล (Sildenafil)

 

-       ผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ตาบอด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้น ผิดจังหวะ เป็นต้น

-       ยาที่ขายตามอินเตอร์เน็ตมักเป็นยาปลอม ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่อันตรายมากกว่ายาของจริง

 

หากพบเห็นการขายยาตามอินเตอร์เน็ตที่ไม่เหมาะสม ร่วมมือกันไม่สนับสนุนผู้กระทำผิดกฎหมายเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค ช่วยกันแจ้งเบาะแสกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ที่ สายด่วน อย. 1556

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
เพศศึกษา
อย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การคุมกำเนิด
ร้านขายยา
การตั้งครรภ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การทำหมัน
ห่วงคุมกำเนิด