ไซยาไนด์
(cyanide) เป็นสารที่นำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเหมืองทองคำ เหมืองเงิน
และอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
อุตสาหกรรมพลาสติก เป็นต้น สามารถพบได้หลายรูปแบบ ได้แก่
1.
เกลือของไซยาไนด์ ได้แก่ โซเดียมไซยาไนด์ (sodium cyanide) และโพแทสเชียมโชยาไนด์ (potassium cyanide) ซึ่งเป็นของเข็ง มีลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี
มีกลิ่นคล้ายอัลมอนด์ (bitter
almond-likeodor)
2.
ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen
cyanide) มีลักษณะเป็นของเหลวใสหรือสีน้ำเงินจางๆ
ที่อุณหภูมิห้อง
และที่อุณหภูมิสูงจะเป็นก๊าซไม่มีสี
ไซยาไนด์เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากได้รับจะเริ่มมีอาการปวดศีรษะ
ใจสั่น หน้าแดง หมดสติ ชัก และอาจจะเสียชีวิตภายในเวลา 10 นาที โดยยาต้านพิษไซยาไนด์ในประเทศไทยมี 2 รายการ
ได้แก่ ยาฉีดโซเดียมไนไตรท์ (Sodium nitrite) และยาฉีดโซเดียมไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) เป็นยาในโครงการของยาต้านพิษของศูนย์พิษวิทยา
ซึ่งมีเพียงพอที่ส่งให้กับโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ โดยการจะต้านพิษไซยาไนด์ได้
ต้องได้รับยาต้านพิษอย่างทันท่วงทีภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
-
หากไซยาไนด์สัมผัสกับผิวหรือเสื้อผ้า
ให้ใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้น ๆ และนำออกจากลำตัว อย่าให้ถูกผิวส่วนอื่น
โดยวิธีนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนไซยาไนด์ ไม่ไปสัมผัสกับผิวหนัง
แล้วล้างทำความสะอาดผิวด้วยน้ำและสบู่ และรีบนำส่งโรงพยาบาล
-
หากสัมผัสทางดวงตา
ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาอย่างน้อย 10 นาที
และรีบนำส่งโรงพยาบาล
-
หากมีการสูดดมและรับประทาน
ในกรณีที่ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำ CPR เพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่
“ห้ามใช้วิธีเป่าปาก”เพื่อป้องกันผู้ช่วยเหลือได้รับพิษ
สารกลุ่มไซยาไนด์จัดเป็นวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
พ.ศ. 2535
โดยเกลือของไซยาไนด์ที่ละลายน้ำได้ (soluble cyanide salts) และไฮโดรเจนไซยาไนด์ (hydrogen cyanide) ห้ามนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข
(จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในการกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ห้ามผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง)