โรคมาลาเรียและยารักษามาลาเรีย
9 พฤษภาคม 2567

โรคมาลาเรียเป็นโรคติดต่อสำคัญที่มียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ แต่ไม่มีน้ำมูก ปวดเมื่อยตามตัวและกล้ามเนื้อ แม้การเจ็บป่วยด้วยโรคมาลาเรียจะมีให้พบเห็นไม่มากเท่าแต่ก่อน แต่อย่างไรก็ตามหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที จะสามารถทำให้เสียชีวิตได้

ยารักษามาลาเรีย จะช่วยให้เชื้อมาลาเรียหมดไปจากกระแสเลือด และป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรง โดยยารักษามาลาเรียที่มีใช้ในปัจจุบัน เช่น คลอโรควิน (Chloroquine), ไพรมาควิน (Primaquine), ควินิน (Quinine), เมโฟลควิน (Mefloquine), อาร์ติซูเนท (Artesunate), ด๊อกซีซัยคลิน (Doxycycline) และ เตตราซัยคลิน (Tetracycline)

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยารักษามาลาเรีย

  1. ไม่ควรซื้อยารักษามาลาเรียมากินเอง เพราะอาจจะได้ยาที่ไม่มีคุณภาพ หรือเป็นยาที่ใช้ไม่ได้ผล
  2. ควรกินยารักษามาลาเรียให้ครบตามที่แพทย์สั่ง เพื่อลดปัญหาการเกิดเชื้อดื้อยา
  3. ควรสังเกตอาการตนเอง หากพบว่ามีไข้หรืออาการที่สงสัยว่าเป็นไข้มาลาเรียภายใน 1-2 สัปดาห์ ถึง เดือน หลังจากเดินทางกลับจากเขตที่มีการระบาดของเชื้อมาลาเรีย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดหาเชื้อ
  4. ปัจจุบันไม่แนะนำให้กินยาเพื่อป้องกันมาลาเรีย เนื่องจากไม่สามารถป้องกันมาลาเรียได้ 100% และอาจทำให้เชื้อดื้อยาได้

วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตนเองจากโรคมาลาเรีย คือ การป้องกันไม่ให้ยุงกัด เช่น ใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายมิดชิดนอนในมุ้งหรือในเต็นท์ที่กันยุง กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงทุกชนิด หลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง เช่น การเดินป่า ตั้งแคมป์ หรือ ท่องเที่ยวธรรมชาติที่มีแหล่งน้ำ และการใช้ผลิตภัณฑ์ทาป้องกันยุง


ข้อมูลอ้างอิง

ยารักษาไข้มาลาเรียและผลิตภัณฑ์ทากันยุง

ไข้มาลาเรีย โรคติดต่อจากยุงก้นปล่อง

มาลาเรีย ไข้จับสั่น หรือไข้ป่า (Malaria)

การป้องกันมาลาเรีย และหลักการใช้ยาป้องกันมาลาเรีย

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การเลือกซื้อ
การรักษา
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผลิตภัณฑ์ยา
ยา
วัคซีน
สาระความรู้
อย.
ไข้มาลาเรีย
ยาป้องกันมาลาเรีย
ยารักษามาลาเรีย
กำจัดยุง
ทาไล่ยุง
ยุง
โรคจากยุง