ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน
18 กรกฎาคม 2568

หากพูดถึงผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มความมั่นใจให้ผู้ที่มีปัญหาฟันหมองคล้ำ หลายคนก็ต้องนึกถึง ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีทั้งที่จัดเป็นเครื่องมือแพทย์และเครื่องสำอาง ในบทความนี้จะพามาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันเฉพาะที่เป็นเครื่องมือแพทย์กัน มาติดตามกันเลย

ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันที่เป็นเครื่องมือแพทย์ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ที่มีระดับความเข้มข้นมากกว่า 6 เปอร์เซ็นต์หรือส่วนประกอบของคาร์บาไมค์ เพอร์ออกไซด์ (Carbamide Peroxide) หรือสารชนิดอื่นที่ให้หรือปลดปล่อยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2 present or released) ที่มีระดับความเข้มข้นมากกว่า 6 เปอร์เซ็นต์

2. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) ที่มีระดับความเข้มข้นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 เปอร์เซ็นต์หรือส่วนประกอบของคาร์บาไมด์ เพอร์ออกไซด์ (Carbamide Peroxide) หรือสารชนิดอื่นที่ให้หรือปลดปล่อยไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (H2O2 present or released) ที่มีระดับความเข้มข้นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6 เปอร์เซ็นต์ และมีส่วนประกอบของสารประกอบฟลูออไรด์ ซึ่งเมื่อคำนวณในรูปฟลูออไรด์รวมทั้งหมดแล้วมีระดับความเข้มข้นเกินกว่า 0.11 เปอร์เซ็นต์

ผู้บริโภคควรซื้อผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันจากสถานพยาบาลที่มีการให้บริการด้านทันตกรรม สั่งจ่ายโดยประกอบวิชาชีพทันตกรรมหรือซื้อจากผู้ขายที่ได้รับใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์จาก อย. และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น

ผู้ที่ไม่แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน

-          ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน และอวัยวะในช่องปาก เช่น ปวดฟัน ฟันผุ มีแผลในช่องปาก เหงือกอักเสบ

-          สตรีมีครรภ์

-          ผู้สูบบุหรี่

-          ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์

-          ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

คำแนะนำหลังการฟอกสีฟัน

-          ควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสีเข้ม

-          ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีกรดสูงเกินไป เช่น อาหารรสจัด หรือผลไม้รสเปรี้ยว

-          ควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

 

-          หากมีอาการเสียวฟัน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นจัด

-          ปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด

 

 

#ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน #ฟอกสีฟัน



  1. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันเป็นเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. ๒๕๖๑ . ราชกิจจานุเบกษา. (2018). Retrieved May 23, 2024, from
  2. เผยกฎใหม่ กำหนดผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟันเป็นเครื่องมือแพทย์ . สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2018). Retrieved May 23, 2024, from 
  3. ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2022). Retrieved May 23, 2024, from 
  4. ฟอกสีฟัน ฟอกฟันขาวอย่างปลอดภัย ด้วยการดูแลจากทันตแพทย์เฉพาะทาง. โรงพยาบาลพญาไท.(2023). Retrieved May 24, 2024, from 
  5. ดูแลฟันให้ขาวยาวนาน หลังฟอกสีฟัน. โรงพยาบาลยันฮี.(n.d.). Retrieved May 24, 2024, from 
คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
oryor
การเลือกซื้อ
เครื่องสำอาง
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
อย.
สาระความรู้
ฟอกสีฟัน
ผลิตภัณฑ์ฟอกฟันขาว
ผลิตภัณฑ์ฟอกสีฟัน
สูบบุหรี่
น้ำอัดลม