แนฟทาลีน
26 พฤศจิกายน 2558

รู้จัก “แนฟทาลีน” กันหรือไม่ 

แนฟทาลีน มีลักษณะเป็นของแข็งหรือผลึกสีขาว มีกลิ่นแรง ไม่ละลายน้ำ ระเหิดหรือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอได้ที่อุณหภูมิห้อง นอกจากนำแนฟทาลีนไปใช้ในการดับกลิ่นในห้องน้ำ หรือใช้ไล่แมลงและดับกลิ่นเพื่อป้องกันแมลงกัดกินเสื้อผ้า ยังมีการนำแนฟทาลีนไปใช้เพื่อประโยชน์ต่าง ๆ อีก เช่น ผลิตพลาสติกพีวีซี เรซิน สารฟอกหนัง สีย้อม เป็นต้น

          แนฟทาลีนถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในรูปของลูกเหม็นเพื่อป้องกันแมลงหรือเพื่อดับกลิ่นในห้องน้ำ โดยลูกเหม็นมักจะมีแนฟทาลีนเป็นส่วนประกอบมากกว่า 99% โดยน้ำหนัก ซึ่งมีทั้งชนิดร้อน ชนิดเม็ด และชนิดผลึก แนฟทาลีนสามารถเข้าสู่ร่างกายได้โดยการหายใจ เอาไอระเหยของแนฟทาลีนจากเสื้อผ้าหรือผ้าห่มที่มีการใช้ลูกเหม็น การสัมผัสผ่านผิวหนังโดยตรงหรือจากเสื้อผ้า และการกินด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือจากอุบัติเหตุเช่นในเด็ก เมื่อเข้าสู่ร่างกายแนฟทาลีนจะถูกกำจัดที่ตับและขับออกทางปัสสาวะ โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการขับออกจากร่างกายภายใน 1-3 วัน นอกจากนี้แนฟทาลีนยังสามารถเข้าสู่สิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจาก  แนฟทาลีนสามารถระเหิดได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเข้าสู่สิ่งแวดล้อม แนฟทาลีนจะอยู่ในรูปของไอระเหยในอากาศเป็นส่วนใหญ่ ความชื้นและแสงแดดในอากาศสามารถทำให้แนฟทาลีนสลายตัวได้ โดยทั่วไปจะใช้เวลาภายใน 1 วัน

วิธีลดความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มีแนฟทาลีนเป็นส่วนประกอบ

  1. เก็บลูกเหม็นหรือก้อนดับกลิ่นให้พ้นมือเด็ก
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ลูกเหม็นกับเสื้อผ้าหรือผ้าห่มของเด็กและทารก
  3. ก่อนที่จะใช้เสื้อผ้าหรือผ้าห่มที่มีการใช้ลูกเหม็นในการไล่แมลงหรือดับกลิ่น ให้นำเสื้อผ้าหรือผ้าห่มมากำจัดกลิ่นและไอระเหยของแนฟทาลีนที่ตกค้างออกก่อน โดยการตากแดด หรือผึ่งลม และควรซักอีกครั้งก่อนใช้
  4. เก็บลูกเหม็นในตู้ที่ปิดสนิทหรือภาชนะปิดสนิทเพื่อป้องกันการรั่วไหลของไอระเหยสู่อากาศ
  5. ใช้ลูกเหม็นหรือก้อนดับกลิ่น เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น

Infographic text

-ป้องกันแมลง   
- ดับกลิ่น
วิธีลดความเสี่ยงจากการใช้ผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือน ที่มีแนฟทาลีนเป็นส่วนประกอบ
1.อย่าเก็บลูกเหม็นและก้อนดับกลิ่นใกล้มือเด็ก
2.หลีกเลี่ยงการใช้ลูกเหม็นกับเสื้อผ้า - ผ้าห่มของเด็กทารก
3.เก็บแนฟทาลีน ในตู้ปิดสนิทหรือในภาชนะปิดสนิท
4.ก่อนที่จะใช้เสื้อผ้าหรือผ้าห่ม ที่มีการใช้ลูกเหม็นกำจัดกลิ่นหรือป้องกันแมลง
ให้นำเสื้อผ้า - ผ้าห่ม มากำจัดไอระเหยที่ตกค้างก่อนโดย
-ตากแดด
-ผึ่งลม
-ซักอีกครั้งก่อนใช้

แท็กที่เกี่ยวข้อง
ยา
รักษาโรค
สุขภาพ
อย.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ยา