รู้ลึก รู้จริง “โซเดียมไนไตรท์”
19 ตุลาคม 2563

           โซเดียมไนไตรท์ (NaNO2) จัดเป็นสารกันเสียอย่างหนึ่ง โดยปกติแล้วสารกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นส่วนประกอบหลักในอาหาร แต่จะเติมลงไปในอาหาร เพื่อยืดอายุเก็บรักษาอาหาร ป้องกันอาหารบูดเน่า นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เนื้อสัตว์เกิดสีแดงอมชมพู สารในกลุ่มนี้จึงได้รับความนิยมเติมลงไปในเนื้อสัตว์แปรรูป ไม่ว่าจะเป็น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง เนื้อเค็ม ปลาช่อนแห้ง  เป็นต้น

กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ผสมในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ได้ในไม่เกินปริมาณที่กำหนด คือ

  • ไนไตรท์ ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

          และปริมาณที่ร่างกายบริโภคได้ต่อวัน

  • ไนไตรท์ ร่างกาย รับได้ไม่เกิน 0.07 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

          หากร่างกายได้รับปริมาณสารเหล่านี้มากเกินไปจะทำให้มีอาการ ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ และอาเจียน ถ้าได้รับจำนวนมากจะเกิดอาการปวดท้อง กล้ามเนื้อไม่มีแรง และร่างกายขาดออกซิเจนได้

          ดังนั้นการในการเลือกซื้ออาหารแต่ละครั้ง แนะนำให้

          1. เลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มีสีธรรมชาติ ไม่แดงจนเกินไป

          2. ควรกินอาหารให้หลากหลาย ไม่กินอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ

          3. อ่านฉลาก เพื่อดู วัน เดือน ปี ที่ผลิต วันหมดอายุ ปริมาณ และชนิดของสารกันเสียที่ใช้ในผลิตภัณฑ์

ซึ่งหากกินในปริมาณที่เหมาะสม และไม่กินในปริมาณมากในครั้งเดียว จะไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
อาหาร
สุขภาพ
ฉลาดกิน
โซเดียมไนไตรท์
โซเดียมไนเตรท
สารกันเสีย