ใส่บาตร ถวายสังฆทานสุขใจ ได้บุญ
15 กุมภาพันธ์. 2566

อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 17/07/67

การทำบุญกับวิถีชีวิตคนไทยนับเป็นของคู่กันมาแต่โบราณ ที่นิยมเข้าวัดทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทานให้แก่พระสงฆ์ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น ปีใหม่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา หรือในโอกาสต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ดังนั้น การทำบุญให้ได้บุญ จึงควรใส่ใจอาหารที่ถวายพระสงฆ์ด้วยการถวายอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เน้นอาหารลดหวาน มัน เค็ม เพื่อส่งเสริมสุขภาพพระสงฆ์ไทยให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้วย 3 วิธีง่าย ๆ ดังนี้

  1. ปรุงอาหารเอง ควรเลือกอาหารที่เป็นเมนูชูสุขภาพ เลือกใช้ข้าวกล้องแทนข้าวขาว ปรุงด้วยการต้ม นึ่ง ลวก อบ ยำ แทนการผัด หรือทอด เลี่ยงอาหารกะทิ ไขมันสูง เค็มจัด หวานจัด เพิ่มผักและผลไม้รสไม่หวาน
  2. ไม่ได้ปรุงอาหารเอง ควรเลือกซื้อจากร้านที่มีการปรุงสุกใหม่ มีการใช้อุปกรณ์หยิบจับอาหารแทนการใช้มือ และใช้ภาชนะบรรจุอาหารที่สะอาดปลอดภัย
  3. อาหารแปรรูป ควรเลือกผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสัญลักษณ์โภชนาการ “ทางเลือกสุขภาพ” เพื่อช่วย
    ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีการแสดงฉลากอาหารถูกต้องครบถ้วน
    มีเลขสารบบอาหาร 13 หลัก ในกรอบเครื่องหมาย อย. มีวันหมดอายุไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภาชนะบรรจุต้องสะอาด อยู่ในสภาพดี ไม่บุบ ไม่มีรอยฉีกขาด

ข้อมูลอ้างอิง : 

https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/849?fbclid=IwAR2lKfqEKRwSXPmwUghTdaTWCU7EAAhEqLplBpvW-xzekTzT3TiCzmGLA_4 .ใส่บาตร ถวายสังฆทานอย่างไรจึงจะได้บุญ.อย.

https://prgroup.hss.moph.go.th/news/290 . ใส่บาตรได้บุญ คุณเลือกได้.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/311263/   .กรมอนามัย ห่วงสุขภาพพระสงฆ์ แนะตักบาตรแบบ New Normal เน้นลดหวาน มัน เค็ม.กรมอนามัย

คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
FDAthai
อย.
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
อาหาร
อาหาร
ตักบาตร
ถวายสังฆทาน
พระสงฆ์
สัญลักษณ์โภชนาการทางเลือกสุขภาพ
ลดหวานมันเค็ม