ขนมหวานสาเหตุของโรคร้าย
16 ตุลาคม 2566

อัพเดทข้อมูล ณ วันที่ 10/06/67

ขนมหวานที่แสนอร่อยของใครหลายๆคนนั้น ไม่เพียงแต่จะมีหน้าตาที่ดูน่ารับประทานหรือรสชาติที่อร่อยแล้ว แต่ยังมาพร้อมกับโรคร้ายที่แฝงมากับขนมหวานนั้น ขนมหวานส่วนใหญ่มักทำมาจากแป้งและน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก ไม่ว่าจะเป็น คุกกี้ เค้ก เยลลี่ ลูกอม ไอศกรีม เป็นต้น เมื่อเรารับประทานอาหารเหล่านี้มากเกินไป อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วนลงพุง โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจ อาการเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุมาจากการทานแป้งและน้ำตาลที่มากเกินไปทั้งสิ้น

 โดยน้ำตาล 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ และร่างกายในแต่ละวัยต้องการปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมกับวัยแตกต่างกันเพราะร่างกายมีการใช้พลังงานและการเผาผลาญของร่างกายที่แตกต่างกัน จึงมีการแนะนำการบริโภคน้ำตาลต่อวัน ดังนี้ 

1.       เด็กและผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป ที่ต้องการพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี่ต่อวัน 

ปริมาณน้ำตาลต่อวัน ไม่เกิน 4 ช้อนชา หรือ 16 กรัม

2.       วัยรุ่นหญิง/ชาย วัยทำงาน ที่ต้องการพลังงาน 2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน 

ปริมาณน้ำตาลต่อวัน ไม่เกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม

3.       สำหรับผู้ที่ใช้พลังงานมาก เช่น นักกีฬา ที่ต้องการพลังงาน 2,400 กิโลแคลอรี่ต่อวัน

ปริมาณน้ำตาลต่อวัน ไม่เกิน 8 ช้อนชา หรือ 32 กรัม 

ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลโรคร้าย เราควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ควบคุมปริมาณน้ำตาลที่บริโภคต่อวัน โดยอ่านฉลากโภชนาการ ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (หรือฉลาก หวาน มัน เค็ม) ซึ่งจะบอกปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์เหล่านั้นก่อนเลือกซื้อ เพียงเท่านี้ก็สามารถเลือกกินขนมหวานได้อย่างไร้กังวล


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.thaihealth.or.th/

https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/sweet/

ปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสมของคนแต่ละวัย

สุขภาพดี ทำได้ง่ายๆ แค่ลดหวาน ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก (mahidol.ac.th)


คลังรูปภาพ
แท็กที่เกี่ยวข้อง
FDAknowledge
GDA
oryor
การเลือกซื้อ
NCDs
ฉลากหวานมันเค็ม
ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
ผลิตภัณฑ์อาหาร
อย.
อาหาร
ขนมหวาน
ฉลากโภชนาการ
ฉลากหวาน มัน เค็ม
ฉลากอาหาร