ยาลดน้ำหนักที่ใช้ในการทางแพทย์นั้น
มักจะใช้ในผู้ป่วยโรคอ้วนหรือผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกิน ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 30 กิโลกรัม/ตารางเมตรขึ้นไป
หรือเกิน 27 กิโลกรัม/ตารางเมตร แต่มีโรคความดันสูง โรคเบาหวาน
หรือหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย โดยผู้ป่วยต้องผ่านการรักษาด้วยการควบคุมอาหาร
การออกกำลังกายและการปรับพฤติกรรมแล้ว แต่ยังไม่สามารถลดน้ำหนักจนถึงเป้าหมายได้
จึงจะสามารถใช้ยาเหล่านี้ได้ ไม่ใช่ว่าอยากจะลดน้ำหนักแล้วสามารถใช้ยาได้เลย
การใช้ยาต้องอยู่ในการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และใช้เป็นตัวเสริมจากการออกกำลังกายการคุมอาหารเท่านั้นแต่ปัจจุบันพบว่ายาชุดลดน้ำหนักที่ขายตามสื่ออินเตอร์เน็ตต่าง
ๆ หรือตามคลินิกที่ไม่ได้รับการรับรอง มีส่วนผสมของยาหลาย ๆ ตัว
และอาจจะมีการใช้ยาที่เป็นอันตรายหรือลักลอบใส่สารอันตรายลงไป
ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายของเราได้ เช่น
1. ทำให้เกิดอาการหงุดหงิด
2. ทำให้เกิดอาการเวียนหัวอย่างรุนแรง
3. สมาธิการเรียนและการทำงานลดลง
4. หัวใจบีบตัว มีอาการใจสั่น
5. นอนไม่หลับ
ดังนั้นหากต้องการลดน้ำหนัก
แนะนำวิธีการควบคุมน้ำหนักง่าย ๆ ดังนี้
1. คำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI (Body Mass Index) คือ ตัวชี้วัดมาตรฐานแสดงสภาวะความสมดุลของร่างกาย คำนวณโดยใช้สูตร
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) / ส่วนสูง (เมตร) x ส่วนสูง
(เมตร)
●
โดยค่า BMI อยู่ระหว่าง 18.5-22.9 Kg/m2 จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. กินอาหารให้ครบ 5
หมู่ และกินอาหารให้หลากหลาย
3. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เช่น หลีกเลี่ยงอาหารหวาน หลีกเลี่ยงการรับประทานของทอด
ของมัน
4. ออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ30 นาทีขึ้นไป
ข้อมูลอ้างอิง
"ยาลดน้ำหนัก" อันตรายอย่างไรและเหมาะกับใคร? - รามา แชนแนล (mahidol.ac.th)
ทำไมกินยาลดน้ำหนักแล้ว น้ำหนักจึงลด ? - รามา แชนแนล (mahidol.ac.th)
560620_แผ่นพับ_อันตรายจาก_ยาชุดลดความอ้วน_31.pdf (oryor.com)